Welcome to Staff Lamp : The Modern office lighting of Thailand : โคมไฟออฟฟิศ office lamp โคมไฟสำนักงาน โคมไฟสั่งผลิต โคมไฟสั่งทำ โคมไฟไทยสไตล์ โมเดิร์น ราคาย่อมเยา มีหลายสไตล์ให้เลือกสรรค์
โคมไฟออฟฟิต โคมไฟออฟฟิต

ร้านขายโคมไฟออฟฟิศ โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ โคมไฟสั่งทำตามแบบ โคมไฟผ้า โคมไฟราคาถูก โคมไฟโมเดิร์นออฟฟิศสั่งทำ

โคมไฟไทยสไตล์ โมเดิร์น ราคาย่อมเยา มีหลายสไตล์ให้เลือกสรรค และเรายังรับงานตกแต่งภายใน หรือจะเป็นโคมไฟสั่งผลิต โคมไฟสำนักงาน โคมไฟสั่งทำ

ร้านโคมไฟ STAFF LAMP เราจำหน่าย โคมไฟออฟฟิศ โคมไฟสั่งทำ โคมไฟสั่งผลิตตามแบบ โคมไฟสไตล์โมเดิร์นโคมไฟแขวนเพดาน โคมไฟออฟฟิศ โคมไฟออฟฟิศสี่เหลี่ยม โคมไฟออฟฟิศท่อตรง โคมไฟออฟฟิศทรงกลม โคมไฟออฟฟิศทรงวงรี โคมไฟตั้งพื้น โคมไฟออฟฟิศ โคมไฟสั่งทำแบบต่างๆ โคมไฟผ้า และรับงานโปรเจค โคมไฟออฟฟิศโมเดิร์นสั่งทำ

โครงการ จำนวนเยอะๆ ร้านเราสามารถ จัดทำให้ได้ค่ะ ราคาโรงงานแน่นอนหายห่วง : เรายังรับทำ BUILD IN ตกแต่งภายในในราคาไม่แพงติดต่อเราได้ค่ะ.
ร้านโคมไฟ Staff lamp เป็นร้านโคมไฟ สไตล์โมเดิร์น ผลิตในไทย และใช้วัสดุเกรดดีกว่าจีน แต่คุณภาพเทียบแบรนดังๆในยุโรป ได้สบายๆ โคมไฟเรามีให้เลือกหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น :

1 โคมไฟแนวออฟฟิศ เป็นโคมไฟ ท่อ อลูมิเนียม (ไม่ใช่เหล็กผับ) สีเป็นสี powder coating (สีฝุ่น อบอย่างดี) และ สี แบบ 2K ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ใช้กัน ลูกค้า สามารถออกแบบความยาว หรือ จะต่อเป็นสี่เหลี่ยม ได้ตามต้องการ หลอดไฟเป็นหลอด Fluorescent T5 มีทั้ง 14w 21w 28w และหลอด LED T8 36W และ LED strip light ( LED ribbon ) หรือลูกค้าจะใส่ เป็นหลอดนีออน แบบ LED ก็ได้ เหมาะสำหรับออฟฟิศ และสำนักงาน โมเดิร์น ทันสมัย และสไตล์เรียบๆ

2 โคมไฟแขวน ร้าน Staff lamp เน้นโคมไฟสไตล์ โมเดิร์น ซึ้งจะเป็นสไตล์ที่จะอยู่อีกนาน ไม่ฉาบฉวยเหมือน loft และแบบอื่นๆที่เข้ามาและก็จะ out อีกไม่นาน วัสดุ ของเราเป็น อลูมิเนียม อย่างดี ( ข้อดีของอลูมิเนียม คือ ระบายความร้อนได้ดีกว่าเหล็ก เหล็กจะอมความร้อน ) สีฝุ่น อบ อย่างดี ดีไซน์ทันสมัย เหมาะกับการตกแต่ง ไม่ว่า บ้าน คอนโด หรือ ร้าน ออฟฟิศ สำนักงาน ห้าง โรงแรม ต่างๆ

3 เราจะมีโคมไฟ แนว loft หรือ vintage มาแซม เพื่อให้ทันสมัย เข้ากับยุคสมัย โคมไฟเรา แตกต่างจากร้านอื่น คือ ทำในไทย และวัสดุส่วนใหญ่เป็นอลูมิเนียม เหล็กซิงค์ สแตนแลส เกรดดี 3 โคมไฟตั้งพื้น ร้าน Staff lamp เน้น โคมไฟตั้งพื้น แนว โมเดิร์น อีกเช่นเคย และวัสดุ เกรดดี เมื่อเทียบกับงานจีน (งานจีนถูกจริง แต่ อายุการใช้งานก็ตามราคาใช้ไปนานๆก็เสีย )

4 โคมไฟสั่งทำ หรือ OEM MADE TO ORDER สามารถนำแบบมาปรึกษาเราได้ เราสามารถทำตามแบบได้ สามารถมาปรึกษาที่ร้านได้
ร้าน Staff lamp เป็นโคมไฟที่ผลิตในไทย 100% วัสดุเกรดดีกว่าจีน และ เน้นใช้ อลูมิเนียมในการผลิต อลูมิเนียม สแตนเลส แต่ อลูมิเนียม สามารถ ระบายความร้อนได้ดีกว่าเหล็ก ซึ้งเหล็ก จะอมความร้อนไว้ตัว ซึ้งทางยุโรปหรือแบรนดังๆจะไม่นิยมใช้เหล็กในการผลิตโคมไฟ เรื่องสี ทางร้านเรา เน้นคุณภาพของสีเป็นอย่างดี สีของเราเป็นสีฝุ่น หรือ powder coating ที่บริษัทโคมไฟพ้นและส่งออกขายนอกประเทศ ดังนั้น เราจึงมันใจว่าสีของเราดีเยี่ยม ลูกค้าสามารถกด like page ของเราได้ เพื่อเข้าไปดู วิธีแต่งบ้าน เพราะว่าเราจะหา รูปภาพที่ลูกค้าของเรานำไปติด และนำมาเป็น ตัวอย่าง ให้ครับ ลูกค้าที่กำลังสนใจจะแต่งบ้าน ซึ้งมีหลายแบบ อย่าลืม ใช้ของไทย ซื้อของไทย คนไทยช่วยกัน ของไทยไม่แพ้ชาติใด



4 เทคนิค จัดแสงโต๊ะทำงาน โดยใช้โคมไฟสั่งทำ โคมไฟออฟฟิศ หรือ โคมไฟสำนักงาน

1. แสงธรรมชาติ คือ แสงที่สบายตาที่สุดในการทำงาน หากต้องทำงานในช่วงกลางวัน ควรวางโต๊ะทำงานให้อยู่ใกล้กับหน้าต่างหรือระเบียง บริเวณที่แสงส่องถึง เพื่อให้ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ เพราะแสงธรรมชาติคือแสงที่สบายตาที่สุด หากแสงแดดจัดเกินไปก็สามารถนำผ้าม่านปรับระดับความเข้มของแสง ควรจัดทิศทางให้แสงธรรมชาติเข้ามาทางด้านหน้าของโต๊ะทำงาน เหนือระดับสายตาหรือจัดทิศทางให้แสงธรรมชาติเข้ามาด้านข้างก็ได้ แต่ให้ระวังเงาที่จะไปบังหน้าจอ

2. จัดแสงไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดี หากบริเวณห้องทำงานมีแสงสว่างไม่เพียงพอ อาจจะทำให้สายตาเสียได้ ควรจะติดตั้งหลอดไฟ หรือโคมไฟตกแต่งโต๊ะทำงาน เพื่อเพิ่มให้แสงสว่างเพียงพอและไม่ทำร้ายสายตา

3. โคมไฟที่ใช้นำมาช่วยเพิ่มแสงสว่าง ควรใช้แสง Cool White เพื่อความสบายตาในการทำงาน และค่า CRI มากกว่า 80% จะช่วยให้สีจากการทำงานไม่ผิดเพี้ยน และควรใช้ความสว่างที่ 400 - 600 Lux จะให้แสงที่ไม่สว่างหรือมืดเกินไป

4. การจัดแสงไฟห้องทำงาน ไม่แนะนำให้เลือกมุมที่แสงสว่างสะท้อนเข้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือไม่ควรจัดแสงไฟบนศีรษะสะท้อนเข้าหน้าจอ หรือขยับองศาของโคมไฟออกจากหน้าจอ เพื่อความสบายตาในการทำงานมากขึ้นและไม่ให้ดวงตาเมื่อยล้า และทำให้ปวดตาได้ จากทั้ง 4 ข้อนี้จะเห็นได้ว่า "แสงสว่าง" มีผลต่อการทำงานเพราะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การเลือกทิศทางตั้งโต๊ะทำงาน ก็สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้ อ่านแล้วก็อย่าลืมนำไปปรับและจัดโต๊ะที่บ้านกันนะคะ

Thanks and cr. https://www.lekise.com/th/blog/2020/08/4-tips-for-home-office-lighting



โคมไฟออฟฟิศ โคมไฟออฟฟิศโมเดิร์นสั่งทำ โคมไฟสำนักงาน รุ่น F004 - P ของร้าน Staff Lamp

ผลิตจาก อลูมิเนียมรีดขึ้นรูป หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษจะเข้าใจและเห็นภาพมากกว่า เพราะว่าเป็นศัพท์จำเพาะ ของมันคือaluminium extrusion พูดถึงขอดีขออลูมิเนียมก่อน อลูมิเนียม จะเป็นวัสดุที่ไม่เป็นสนิม ร้านที่อยู่ใกล้ทะเล ส่วนมากจะเลือกใช้ เพราะว่า ถ้าใช้วัสดุที่เป็นเหล็กแล้ว จะเกิดสนิมขึ้นได้ แม้ว่าจะพ้นสี powder coated แล้วก็ตาม แต่อลูมิเนียมจะไม่เป็นสนิมเลย อย่างมากก็จะขึ้นขี้เกลือ แค่เช็ดกก็ออกแล้ว เป็นเรื่องปกติของสถานที่ที่อยู่ใกล้บริเวณ ทะเลกลับมาเรื่อง Extrusion ต่อ การผลิตแบบ extrusion คือการเอาอลูมิเนียมแท่งเข้าเครื่องบีบอัดเพื่อรีดผ่านแม่พิมพ์ แล้วจะออกมาตามรูปทรงของแม่พิมพ์นั้นๆ ดังนั้นเมื่อผลผลิตเมื่อ extrusion ออกมาก็จะเป็นวัสดุที่แข็งแรง มากกว่าเหล็กพับและงานปั้มมากทีเดียว แต่ไม่ใช่เหล็กพับจะไม่ดี มันแล้วแต่งานที่ลูกค้าสั่ง ถ้าเป็นเหล็กพับก็จะเป็นงานพวกสั่งทำตามแบบที่แปลกๆ เช่นโคมไฟ infiniti ที่ร้าน Staff lamp เพิ่งทำไปก็ทำจากเหล็กพับ แต่ร้านเราก็มีวิธีทำ และระบายความร้อนอย่างดี ไม่ตอ้งเป็นห่วง สบายมาก ไว้วันหลังจะมาอธิบายให้ฟังอีกที ในยุโรปส่วนใหญ่จะใช้การ extrusion ราคาจึงจะสูง แต่เมื่อเทียบกับราคาแล้วจะคุ้มกว่ามาก แต่ทางร้าน Staff lamp เรื่องราคาจะไม่ได้แพงเหมือนกับยุโรป ราคาจะกลางๆ ประชาชนสามารถจับต้องได้สบายๆ และเกรดของอลูมิเนียมของเราจะเป็นเกรดที่สามารถขัดแล้วเงางาม มากทีเดียว ลูกค้าส่วนใหญ่ ที่เลือกใช้ก็จะเป็น ออฟฟิศทั้วไป โฮมออฟฟิศ ร้านอาหาร และพวกโรงแรม 5 ดาว เป็นต้น ดังนั้นทางร้าน Staff lamp กำลังผลิต product ใหม่โดยการขัดชิ้นงานแล้วไป ชุบ anodized อีกที เพื่อให้งานเงาแล้วไป ชุบ anodized เพื่อให้เกิดสีที่ลูกค้าต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสี เงินเงา สีทองเข้ม สีทองอ่อน หรือ โรสโกล์ด น้ำเงิน แดง และอื่นๆ สามารถทำให้ได้ แค่เรามาคุยกันก่อนว่าความต้องการของลูกค้าเป็นแนวไหน งานโคมไฟออฟฟิศของร้าน Staff lamp สามารถสั่งความยาวได้ และ เข้ามุมได้เช่นกัน งานเข้ามุม เราจะผลิตโดยการตัดฉากเข้ามุม 45 องศาเพื่อให้เป็นมุม สี่เหลี่ยม ส่วนหลอดไฟ เราจะใช้หลอดไฟแบบ นีออน LED strip แล้วแต่ลูกค้าเลือกได้เลย ข้อดีขอเสียจะต่างกัน ออกไปไว้โพสหน้าจะมาอธบายเรื่องหลอดไฟให้อ่านกันอีกที อย่าลืมนึกถึงโคมไฟออฟฟิศ ให้คิดถึงเรา Staff lamp







ร้านโคมไฟของเรารับผลิตโคมไฟ (Made to Order) OEM ตามแบบทั้งแบบโคมไฟ ออฟฟิศ Office lamp โคมไฟสำนักงาน โคมไฟออฟฟิศสี่เหลี่ยม โคมไฟออฟฟิศวงกลม

ร้าน Staff Lamp จตุจักรพลาซ่า โซนบี ซอย3 ห้อง 115 อยู่ ถนนกำแพงเพชร2 จตุจักร เรารับผลิตโคมไฟสั่งทำตามแบบ (Made to order) ที่ลูกค้าออกแบบ โดยมีทีมงานคุุณภาพ ในการผลิตและจัดสรรทำสินค้าขึ้นเพื่อ สนองความต้องการของลูกได้อย่างดี เรามีทั้งโคมไฟสั่งผลิต โคมไฟออฟฟิศ โคมไฟผ้า หรือโคมไฟรูปทรงต่างๆ วัสดุในการผลิตโคมไฟ การผลิตโคมไฟจะต้องใช้วัสดุหลัก คือ เหล็ก เป็นหลัก เพื่อให้โคมไฟมีความมั่นคง ทนทาน แข็งแรง ดังนั้นเราจึง เลือดวัสดุเกรดดีในการผลิตโคมไฟ เพราะเรามองระยะยาวในการใช้โคมไฟของลูกค้า แต่วัสดุในการผลิตโคมไฟ (ทำโครง)ไม่จำเป็นต้องเป็นเหล็กเสมอไปไม่ว่าจะเป็น อลูมิเนียม สแตนเลส ทองเหลือง หรือจะเป็นไม้ และสุดท้าย คือผ้า (โคมไฟผ้า) ทางร้านเรารองรับความต้องการของลูกค้าทุกรูปแบบ โดยเฉพาะโคมไฟขายดีของร้านเราคือ โคมไฟออฟฟิศ (โคมไฟออฟฟิศแบบสี่เหลี่ยม โคมไฟออฟฟิศแบบโค้ง โคมไฟออฟฟิศวงกลม ) ทั้งแบบหลอดนีออน Fluorescent หรือ LED Strip ก็สามารถสั่งเราได้ ว่าลูกค้าต้องการโคมไฟสั่งผลิตแบบไหน อย่างลืมนึกถึงโคมไฟสั่งผลิต โคมไฟออฟฟิศ ให้คิดถึงเรา Staff lamp ระยะเวลาในการสั่งทำโคมไฟ : ในการทำโคมไฟสั่งทำ อาจจะต้องมีระยะเวลาในการผลิต 10วัน ถึง 30วัน หรือเร็วกว่านั้นเราจะรีบแจ้งลูกค้าไป



โคมไฟออฟฟิศโมเดิร์นสั่งทำตามแบบ โคมไฟสำนักงานรุ่น F004 - P ของร้าน Staff lamp

ผลิตจาก อลูมิเนียมรีดขึ้นรูป (extrusion) หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษจะเข้าใจและเห็นภาพมากกว่า เพราะว่าเป็นศัพท์จำเพาะของมันคือ aluminium extrusion พูดถึงขอดีขออลูมิเนียมก่อน อลูมิเนียม จะเป็นวัสดุที่ไม่เป็นสนิม ร้านที่อยู่ใกล้ทะเลส่วนมากจะเลือกใช้ เพราะว่า ถ้าใช้วัสดุที่เป็นเหล็กแล้ว จะเกิดสนิมขึ้นได้ แม้ว่าจะพ้นสี powder coated แล้วก็ตาม แต่อลูมิเนียมจะไม่เป็นสนิมเลย อย่างมากก็จะขึ้นขี้เกลือ แค่เช็ดกก็ออกแล้ว เป็นเรื่อง ปกติของสถานที่ที่อยู่ใกล้บริเวณทะเล กลับมาเรื่อง Extrusion ต่อ การผลิตแบบ extrusion คือ การเอาอลูมิเนียมแท่งเข้าเครื่องบีบอัดเพื่อรีดผ่านแม่พิมพ์ แล้วจะออกมาตามรูปทรงของแม่พิมพ์นั้นๆดังนั้นเมื่อผลผลิตเมื่อ extrusion ออกมาก็จะเป็น วัสดุที่แข็งแรง มากกว่าเหล็กพับและงานปั้มมากทีเดียว ไว้วันหลังจะมาอธิบายให้ฟังอีกที ใน ยุโรปส่วนใหญ่จะใช้การ extrusion ราคาจึงจะสูง แต่เมื่อเทียบกับราคาแล้วจะคุ้มกว่ามาก แต่ทางร้าน Staff lamp เรื่องราคาจะไม่ได้แพงเหมือนกับยุโรป ราคาจะกลางๆไม่แพงสามารถจับต้องได้ ประชาชนสามารถจับต้องได้สบายๆ และเกรดของอลูมิเนียมของเราจะเป็นเกรดที่สามารถ ขัดแล้วเงางามมากทีเดียว ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เลือกใช้ก็จะเป็น ออฟฟิศทั้วไป สำนักงาน ผับบาร์ โฮมออฟฟิศ ร้านอาหาร และพวกโรงแรม 5 ดาว เป็นต้น ดังนั้นทางร้าน Staff lamp กำลังผลิต product ใหม่โดยการขัดชิ้นงานแล้วไปชุบ anodized อีกที เพื่อให้งานเงาแล้วไปชุบ anodized เพื่อให้เกิดสีที่ลูกค้าต้องการไม่ว่าจะเป็นสีเงินเงา สีทองเข้ม สีทองอ่อนหรือโรสโกล์ดน้ำเงินแดงบลาๆสามารถทำให้ได้แค่เรามาคุยกันก่อนว่าความต้องการ ของลูกค้าเป็นแนวไหน งานโคมไฟออฟฟิศของร้าน Stafflamp สามารถสั่งความยาวได้ และ เข้ามุมได้เช่นกันงานเข้ามุมเราจะผลิตโดยการตัดฉากเข้ามุม45องศาเพื่อให้เป็นมุมสี่เหลี่ยม ส่วนหลอดไฟเราจะใช้หลอดไฟแบบนีออนLEDstripแล้วแต่ลูกค้าเลือกได้เลยข้อดีขอเสียจะต่างกัน ออกไปไว้โพสหน้าจะมาอธบายเรื่องหลอดไฟให้อ่านกันอีกที อย่าลืมนึกถึงโคมไฟออฟฟิศ ให้คิดถึงเรา Staff lamp





โคมไฟออฟฟิศ โคมไฟสำนักงาน แบบโค้ง และรูปทรงต่างๆ.

โคมไฟออฟฟิศแบบโค้งหรือโคมไฟออฟฟิศสั่งผลิตแบบโค้งทางร้าน Staff lamp ก็สามารถผลิตตามแบบที่ลูกค้าต้องการได้ วัสดุที่เราเลือกใช้เป็นวัสดุเกรดดี แข็งแรงทนทานเบอร์ห้า วัสดุมีให้เลือก เช่น เหล็กซิงค์ (Galvanized stell sheet ) พ้นสีอุตสหกรรมสีรถยนต์ 2K สแตนเลส (Stainless) สามารถสั่งสีไดเไม่ว่าจะเป็น Gold, Rose gold, sliver Copper และสีต่างๆที่ลูกค้าต้องการเพียงแค่บอกเราเราสามารถจัดการให้ได้ ลักษณะในการเข้ารูปโคมไฟเป็นใช้เรเซอร์ในการตัดชิ้นงานดังนั้นงานจึงจะเป็น ตามแบบที่ลูกค้าออกแบบไม่ผิดเพี้ยนส่วนขนาดสามารถแจ้งความต้องการได้ว่า ต้องการขนาดเท่าไหร่ เราสามารถตามขนาดที่ลูกค้าแจ้งได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปตัวอักษร หรือแบบยาวเข้ามุม เข้าโค้งเป็นรูปใส้เดือน หรืองู ร้าน Staff lampสามารถจัดให้ได้





โคมไฟแบบผ้า รับผลิตโคมไฟผ้า โคมไฟผ้าสั่งทำ หรือโคมไฟสาน

โคมไฟผ้า หรือโคมไฟสาน สั่งทำ ทางร้าน Staff lamp รับผลิตโคมไฟผ้าตามแบบต่างๆที่ลูกค้าต้องการ ตอนนี้ทางร้าน Staff lamp ได้ผลิตและส่งงานให้กับทางโรงแรมต่างๆ หรือว่าจะเป็นร้านอาหาร จัดว่างโคมไฟผ้าของเราไว้ บนโต๊ะทาน ข้าว หรือจะติดตั้งโคมไฟผ้าไว้ที่โถงบันใด หรือติดตั้งไว้ในห้องรับแขก หรือว่าจะเป็นบ้านตัวอย่าง จะสั่งจำนวนมากหรือว่าจะสั่งแค่ตัวสองตัวทางร้าน Staff lamp ก็รับผลิตโคมไฟผ้าของลูกค้าได้สบายๆ เรามีช่างผู้ชำนานการในการผลิตโคมไฟผ้า เก็บกุ้นอย่างดี วัสดุและส่วนประกอบของโคมไฟผ้า มีดังนี้ โครงเหล็กเส้น เราใช้เหล็กหนา และแข็งแรงกับโครงสร้างของผ้า ทางช่างมีประสบการณ์ในการเลือกว่า ต้องใช้ขนาดเหล็กหนาเท่าไหร่ ถึงจะแข็งแรกไม่ดูก๊องแก๊ง และทางทีมช่างก็จะใช้เครื่องดัดโครงตามแบบ ที่ลูกค้าสั่งมา และต่อจากนั้นก็จะทำการเชื้อมเหล็กและก็ขัดเก็บขี้ของโคมไฟไม่เป็นแบบตะปุ่มตะปั่มและ โคมไฟก็จะดูเรียบ และดูเรียนร้อย และขั้นตอนต่อไป ก็จะเป็นการเข้าห้องอบสี สีที่เราเลือกใช้จะเป็นสีฝุ่น หรือเรียนเป็นภาษา อังกฤษว่า Powder coated แล้วก็จะนำโคมไฟนำเข้าห้องอบสีด้วยอุณหภูมิที่ 150-200 องศา พ้นสีโครงทำ สาเหตุที่เราพ้นสีและเข้าห้องอบสี เพื่อ ไล่ความชื้นในเหล็กออก และ เพื่อกันสนิมที่จะ เกิดขึ้นแน่นอนถ้าไม่ทำตามขั้นตอนที่แจ้งมา หรือในสถานที่นั้นชื้นก็จะชลอการเกิดสนิทขึ้นได้ ต่อไปว่าด้วยของเรื่องผ้า โคมไฟผ้าก็ต้องมีผ้าเป็นส่วนประกอบหลักและสำคัญกับโคมไฟผ้าเป็นอย่างมาก โคมไฟผ้าเราเลือกใช้ผ้าไหมเทียม เป็นหลัก หรือ ลูกค้าจะเลือกผ้า cotton หรือผ้าอะไรก็สามารถแจ้งมาได้ ข้อดีของผ้าไหมเทียม คือ ไหมเทียมจะมีเนื้อผ้าที่ลื้น สะท้อนแสงได้ดี และทำความสะอาดง่าย เพราะว่า ฝุ่นที่เกาะที่โคมไฟผ้าที่เรามช้ไหมเทียมจะออกง่ายเพียงแค่บัดไม้ขนไก่ฝุ่นก็จะออกดีกว่าพวกผ้า cotton หรือจะเป็นผ้าอัดพีชเราก็มีช่างชำนานการอัดพีชได้สวยงามเลยทีเดียว อยากให้ลูกค้าวางใจในการผลิต โคมไฟผ้าของร้าน Staff lamp ของเรา ที่มีประสบการผลิตโคมไฟผ้ามายาวนาน โปรดวางใจร้านเราได้เลย อย่าลืมคิดถึงโคมไฟผ้า ให้คิดถึง ร้าน Staff lamp เช่นกัน เรื่องโคมไฟไว้ใจเรา Staff lamp





การจัดแสงสว่างในออฟฟิศ หรือสำนักงาน

ออฟฟิศหรือสำนักงานในแต่ละที่ต้องใช้เวลาในการทำงานเป็นเวลานานในแต่ละวัน และแสงในการทำงานนั้นสำคัญมาก ถ้าเเสงที่น้อยเกินไปจะทำให้ตาล่าได้

1. การตั้งโคมไฟแขวน หรือ โคมไฟออฟฟิศในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป เช่น ถ้าเราแขวนโคมไฟออฟฟิศไวู้งจนเกินไปจะทำให้แสงสว่างไม่ถึงหรือถึงโต๊ะทำงานน้อยกว่าที่ควร ดังนั้นควรแขวนโคมไฟออฟฟิศในตำแหน่งที่พอดี เช่น สูงกว่าพื้นราว 200 ซม หรือ 250 ซม เป็นต้น หรือถ้าต่ำกว่านั้นก็จะทำให้เวลาสนทนากันก็จะต้องก้มคุยกัน และบทบังการมองเห็นอีกด้วย.

2. แสงของโคมไฟออฟฟิศหรือสำนักงานเวลาส่องลงมาจะเป็นรูปตัว V กลับหัว ยิ่งเราแขวนโคมไฟออฟฟิศที่สูง แสงรูปตัว V กลับหัว ก็จะกว้างขึ้น และจะทำให้แสงสว่างสลัวลงไม่เข้มพอสำหรับนั่งทำงาน และ ความกว้างที่ดีที่สุดในโคมไฟออฟฟิศของร้าน Staff lamp คือ แสงรูปตัว V กลับหัวที่ออกด้านข้าง จะออกข้างละ 50 ซม และเมื่อรวม 2 ข้างก็จะเป็น 100 ซม ซึ่งเป็นตำแหน่งกำลังีในการทำงาน ด้วนความสว่างและความเข้มของแสงไฟ

3. แสงของการทำงานควรเป็นแสง daylight หรือแสงขาว 6500K เพราะว่าแสงจะคลีนและสบายตา และสามารถนั่งทำงานได้นานขึ้น ไม่ปวดตา

     
       
       





แสงสว่างเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก ที่อยู่ภายใต้อาคารเป็นหลัก ดังนั้น โคมไฟ จึงเปรียบเสมือนส่วนที่เติมเต็มแสงสว่างที่ขาดหายไป ภายในตัวอาคารที่เราอาศัยอยู่ แสงสว่างจึงสำคัญกับสายตาในการมองเห็น ว่าอารมณ์ของแสงในแต่ละจุดอารมณืของแสงเป็นแบบไหน

การตกแต่งบ้านโดยการจัดแสงภายในนอกจากจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆภายในห้องอย่าง ชัดเจน และสบายตา ยังช่วยเสริมบรรยากาศภายในห้อง เพิ่มชีวิตชีวาและส่งเสริมกิจกรรณ์ต่างๆ ทั้ง กรรมภายในห้อง อีกทั้งยังเติมแสงสว่างให้กับอีกทั้งยังเติมแสงสว่างให้กับมุมมืดของห้อง เน้นสีสรรภายในห้องหรือทำให้ห้องดูกว้างขึ้นได้อีกด้วย การจัดแสงให้สมดุลและเหมาะกับความต้องการมีส่วนช่วยให้ห้องที่เราตกแต่งมี ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยการจัดโคมไฟชนิดต่างภายในห้องให้เหมาะกับการใช้งาน และสไตล์ของเจ้าของห้องเอง

เราสามารถผสมผสานการใช้งานของโคมไฟในแต่ละประเภทเข้าด้วยกันในการตกแต่งห้อง ต่างๆ โดยประเภทของโคมไฟต่างๆมีอยู่หลายประเภทเช่น โคมไฟส่องสว่างทั่วๆไป (ambient light) เป็นแสงประเภทพื้นฐานที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆภายในห้อง เป็นโคมไฟที่ให้แสงบริเวณกว้าง เน้นเฟอร์นิเจอร์หลักๆภายในห้อง ซึ่งอาจเป็นแสงโดยตรงหรือสะท้อนกับผนังและเพดาน ชนิดของโคมไฟที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่น โคมไฟชนิดตั้งพื้น (torchiere) ซึ่งจะสะท้อนกับเพดานให้แสงที่นุ่มนวล โคมไฟติดเพดาน (recessed downlights) หรือโคมไฟระย้า (chandelier) เพื่อเพิ่มสไตล์ในการตกแต่ง และความหรูหราให้กับห้อง รวมถึงโคมไฟติดผนังที่ให้แสงสว่างที่กระจายและนุ่ม นวล และเสริมผนังให้ดูโดดเด่นขึ้นมาได้

แสงไฟประเภทแสงไฟสำหรับทำงาน (task light)สำคัญมากเพราะว่าจะทำให้เราไม่เสียสายตาและสามารถนั่งทำงานได้ยาวนายขึ้น แสงไฟประเภทนี้ช่วยให้เราสามารถอ่านหนังสือ ทำงาน หรือทำกิจกรรมภายในห้อง โดยจะเน้นเฉพาะจุด สามารถปรับเปลี่ยนมุมหรือเคลื่อนย้ายได้ง่ายให้เหมาะกับงานและตำแหน่งที่เรา ทำกิจกรรมภายในห้อง โคมไฟประเภทนี้ เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ ซึ่งมีหลากหลายทั้งประเภท ดีไซน์ และกำลังวัตต์ ซึ่งควรเลือกที่มีแสงสว่างที่มากเพียงพอ และเราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นเรายังสามารถใช้ โคมไฟที่มีแขน (swing-arm lamps) ทั้งแบบตั้งโต๊ะ และติดผนัง เพื่อให้สามารถปรับตำแหน่งและมุมให้เหมาะสมกับความต้องการได้อย่างสะดวก โคมไฟตั้งพื้นก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่เราสามารถใช้ในการปรับระดับความสูง ของไฟได้ตามที่เราต้องการ

แสง ไฟเน้นเฉพาะจุด (accent light) จะทำให้จุดนั้นเด่นขึ้นหรือต้องการจะสื่อสารกับบริเวรนั้นเป็นแบบไหน มักจะถูกใช้เพื่อเสริมบรรยากาศ เน้นทางด้านอารมณ์และความรู้สึก เน้นจุดที่น่าสนใจภายในห้อง รวมไปถึงเพิ่มความหรูหราให้กับห้อง ซึ่งสามารถนำไปส่องรูปภาพ งานศิลปะ และเน้นพื้นผิวของผนังให้มีความโดดเด่น นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้กับชั้นวางหนังสือ ตู้โชว์ หรือตู้เสื้อผ้า สำหรับโคมไฟประเภทนี้เช่น โคมไฟส่องภาพซึ่งมีกำลังวัตต์ต่ำใช้ในการเสริมให้รูปภาพที่ใช้ตกแต่งห้องดู โดดเด่นมากขึ้น โคมไฟชนิดราง (track light) ใช้ในการส่องวัตถุ สามารถเลื่อนตำแหน่งได้ง่าย โดยติดตั้งบนเพดานห้อง โคมไฟภายในตู้ (closet lights) สำหรับเน้นแสงไฟภายในตู้ ซึ่งจะใช้หลอดไฟที่มีกำลังไฟและความร้อนต่ำ โคมไฟกลางคืน (nightlight) เป็นโคมไฟหรือดวงไฟที่ใช้แสงสว่างน้อยมากสำหรับเปิดภายในห้องนอน นอกจากนั้นเรายังใช้โคมไฟระย้าขนาดเล็กเพื่อมาใช้ในการเน้นแสงไฟเฉพาะจุด และเพิ่มความหรูหราให้กับห้องได้อีกทางหนึ่งด้วย

โคมไฟ ที่ร้าน Staff lamp จตุจักรพลาซ่า โซนบี ซอย3 ห้อง 115 มีอยู่มากมายหลายแบบ ซึ่งเราสามารถเลือกมาใช้ในการตกแต่งห้องในแบบของตัวเอง เพื่อให้ห้องของเรามีความสวยงาม และมีบรรยากาศได้ตามที่ต้องการ ด้วยการผสมผสานการจัดแสงในแบบต่างๆที่ลงตัว นับเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่เราสามารถนำมาใช้ในการตกแต่งห้องของเราให้น่า อยู่มากยิ่งขึ้นนะครับ

ข้อมูลดีๆ โดย : www.taradasungha.com

 



การติดตั้งโคมไฟให้เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆ.

ไฟสำหรับอ่านหนังสือ.

1. ไม่ควรวางตำแหน่งโคมไฟไว้ด้านหลังผู้ใช้เพราะจะเกิดเงา.

2. อาจใช้ไฟซ่อน ที่ให้แสงสว่างได้ทั่วโต๊ะและไม่ทำให้แสบตา.

3. โคมไฟที่ปรับมุมหรือระดับได้จะให้การส่องสว่างที่ดี.

ไฟสำหรับห้องอาหาร.

1.การใช้โคมไฟและแสงช่วยอย่างมาในการสร้างบรรากาศในการรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดเงาบนโต๊ะ แสงไฟควรเป็นแสงแบบเครียๆ ไม่ควรใช้โคมไฟห้อยตํ่าบังหน้า หรือโคมตื้นมากที่ปล่อยแสงออกมาเข้าตา

2. ควรใช้โคมไฟชนิดปรับระดับความสูงได้ จะได้สามารถปรับระยะเวลาที่เราต้องการปรับ

3. หากเป็นโต๊ะที่มีความยาวมาก น่าจะพิจารณาติดตั้งโคมไฟเพิ่มมากกว่า 1 ชุดเป็นต้น

ไฟสำหรับห้องอ่านหนังสือในห้องนอน.

1. แสงควรมาจากด้านข้างหรือด้านหลังของเตียงเพื่อไม่ให้แสงมากจนเกินไป

2. ไม่ควรให้แสงจ้าเกินไปโดยเฉพาะในห้องนอนเด็กเล็ก หากสามารถปล่อยแสงอ่อนๆ ลอดผ่านประตูมาได้ก็น่าจะทำ เพราะจะทำให้บรรยากาศหน้านอนมากขึ้น

3. ติดตั้ง dimmer ไว้กลางห้อง เพื่อปรับลดหรือเพิ่มของแสงได้ตามโอกาส



เรื่องของหลอด (ไฟ) (ฺblub))


ภัทริก สัมพันธารักษ์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท ฮาเวลส์ ซีลวาเนีย (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในโลกปัจจุบันหลอดไฟไม่เพียงเป็นอุปกรณ์ให้แสงและสีสันในห้อง หากเป็นอะไรที่มากกว่านั้นเยอะ หลอดไฟที่ดีช่วยประหยัดเงิน ช่วยสร้างบรรยากาศ และช่วยถนอมสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นการเลือกหลอดไฟให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยังทำให้เจ้าของได้ใช้ประโยชน์จากห้องอย่างเต็มที่ ที่สำคัญก็ยังทำให้เจ้าของห้องคนเก่ง ได้ช่วยประหยัดพลังงานลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย โลกยุคพลังงานแพง ต้องมาช่วยกันเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดพลังงาน มีเคล็ด (ไม่) ลับสำหรับคนอยากเปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ กรณีอยากรู้ว่าหากต้องการแสงเท่าเดิมจะต้องซื้อหลอดตะเกียบขนาดกี่วัตต์ ให้ใช้สูตร 5 หาร เช่น เคยใช้หลอดไส้ 100 วัตต์. ก็เอา 5 หาร 100 ได้เท่ากับ 20 นั่นหมายความว่าคุณต้องซื้อหลอดตะเกียบขนาด 20 วัตต์. นั่นเอง. (ถ้าหารแล้วมีเศษให้ปัดลง)

 

เคล็ดลับจากซีลวาเนีย.

เลือกหลอดไฟให้ 7 ห้อง. ในบ้านอย่างมืออาชีพ.

1.ห้องนอน เป็นห้องสำหรับพักผ่อน จึงควรเป็นบรรยากาศแบบสบายๆ ไม่ต้องมีแสงสว่างมากนัก เลือกหลอดไฟแบบคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ Fluorescent ชนิดที่ให้แสงออกเหลืองอ่อน (Warm White) ช่วยทำให้ห้องอบอุ่น โดยปกติห้องนอนจะมีจุดให้แสงสว่างหลักคือ โคมไฟหัวเตียงฝั่งซ้ายขวา เพื่อใช้ทำกิจกรรมเล็กน้อยก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ สำหรับห้องนอนที่มีทีวีอยู่ปลายเตียง ควรติดตั้งดาวน์ไลต์ ขนาด 11 วัตต์ บริเวณปลายเตียงอีก 1 ดวง เพื่อช่วยตัดแสงจากหน้าจอโทรทัศน์ แต่ตอนนี้มีไฟ LED ที่สามารถปรับอุณหภูมิและค่าของแสงได้แล้ว

2.ห้องแต่งตัว dressing room  เป็นห้องที่ต้องการแสงสว่างที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อการเลือกสีของเสื้อผ้าหรือการแต่งหน้าของสาวๆ เจ้าของห้อง ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นสาวแต่งหน้าเว่อร์ ดูหลอนเป็นที่สุด แต่ก่อนหลอดไฟห้องแต่งตัวนิยมใช้หลอดฮาโลเจน (หลอดไส้) เพราะให้แสงธรรมชาติ 100% แต่ปัจจุบันแนะให้เลือกใช้หลอดประหยัดไฟคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ Fluorestcent mini lynx หรือ mini twister ขนาด 7 วัตต์ ซึ่งให้แสงสว่างเทียบเท่ากับหลอดฮาโลเจนขนาด 40-50 วัตต์ และมีค่าความถูกต้องสีของแสงมากกว่า 80% ขึ้นไป อีกทั้งยังกระจายแสงได้มากกว่าหลอดตะเกียบถึง 10%

 

สำหรับคุณผู้หญิงที่มีโต๊ะเครื่องแป้ง ควรติดตั้งหลอดไฟคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ Fluorestcent แบบ T5 ไว้ด้านบน และเสริมด้วยหลอดฮาโลเจนไว้ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้เกิดความสมดุลของแสง กล่าวคือ ถ้าเป็นการแต่งหน้ามาทำงานในเวลากลางวัน การใช้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลัก จะช่วยให้สีสันบนใบหน้าไม่จัดจ้านเกินไปเมื่อต้องมาเจอแสงไฟในออฟฟิศส่วนใหญ่ซึ่งเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์เช่นเดียวกัน

 

ส่วนงานกลางคืนขอให้ใช้ไฟจากหลอดฮาโลเจนเป็นหลัก เนื่องจากงานกลางคืนส่วนใหญ่จะประดับประดาด้วยหลอดฮาโลเจน การแต่งหน้าโดยใช้แสงจากหลอดฮาโลเจนเหมือนกัน จึงช่วยให้ใบหน้ามีสีสัน ไม่ซีดหรือจางเกินไปเมื่อเจอกับแสงไฟในงาน.

 


3.ห้องรับแขก Living rooms  หรือห้องนั่งเล่น ห้องนั่งเล่นเป็นมุมโปรดของใครหลายคนในบ้าน ถือเป็นมุมผ่อนคลายที่การให้แสงหรือสีในห้องจะเน้นที่ความรู้สึกสบายตาสบายใจ ส่วนห้องรับแขกก็เป็นส่วนต้อนรับของบ้าน แสงควรอบอุ่น การเลือกหลอดไฟสำหรับสองห้องนี้เน้นที่แสงขาวนวลถึงเหลือง ติดหลอดไฟคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ Fluorestcent แบบ T5 ดีที่สุด

 

สำหรับไฟในห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก Living rooms มีเคล็ดลับการติดตั้ง ควรให้หลอดไฟฉายแสงส่องกระทบกับผนัง ซึ่งช่วยทำให้ห้องดูกว้างขึ้น หรือจะเพิ่มบรรยากาศให้กับห้องด้วยการติดตั้งโคมไฟแบบอินไดเรกต์ ไลต์ (In direct light) หรือไฟส่องกระทบฝ้า เช่น โคมไฟ Cielo 300 ให้แสงสว่างกระจายขึ้นด้านบน มองแล้วสบายตาสุดๆ เพราะหลอดไฟป้องกันแสงจ้าส่องเข้าตา

 

4.ห้องทำงาน office  แสงที่เหมาะควรเป็นแสงขาวนวล สังเกตดูว่าในสถานที่ทำงานหรือออฟฟิศโรงงานต่างๆ มักใช้หลอดไฟขาวเป็นหลัก สาเหตุก็เพราะต้องการสร้างบรรยากาศการทำงานนั่นเอง หลีกเลี่ยงการใช้แสงสีเหลืองอ่อนเนื่องจากแสงเหลืองเหมาะกับห้องที่ใช้ผ่อนคลายมากกว่า กลัวว่าติดไฟสีเหลืองไว้ในห้องทำงานแล้ว เจ้าของห้องจะไม่ยอมทำงานน่ะสิ ที่เหนือโต๊ะทำงานควรมีการติดตั้งหลอดไฟดาวน์ไลต์ที่ให้แสงสว่างกระจายไปทั่วห้องได้ รวมทั้งบนโต๊ะทำงานควรมีโคมไฟตั้งโต๊ะ เพื่อให้แสงเพิ่ม และกลบเงาจากดาวน์ไลต์นั่นเอง.

 

5.ห้องครัว kitchen  ห้องครัวไทยแบบแกง-ต้ม-ผัด-ทอด ควรเลือกใช้โคมไฟดาวน์ไลต์แบบมีกระจกปิดเพื่อป้องกันฝุ่น ควัน และความชื้น เช่น โคมไฟ Wall lynx หรือหลอดคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ Fluorescent แบบ T5 ที่มีค่า IT 44 ขึ้นไป (วิธีเลือกซื้อหลอดไฟชนิดนี้ ให้สังเกตตัวเลขทั้ง 4 ตัว ที่ติดมากับหลอด โดย 4 ตัว แรกหมายถึงค่าป้องกันฝุ่น และ 4 ตัว หลังหมายถึงค่าป้องกันความชื้นและน้ำ)

 

ห้องครัวหรือห้องประกอบอาหาร นิยมใช้แสงสีขาวนวลถึงเหลือง ติดหลอดไฟเพื่อให้แสงสว่างเป็นจุดๆ ตามที่ต้องการใช้งาน เช่น ติด T5 Fluorescent บนฝ้าเหนือบริเวณเตาแก๊ส เพื่อให้แสงสว่างเวลาประกอบอาหาร อย่าลืมเลือกหลอดแบบมีกระจกครอบ เพราะเวลาเจอเข้ากับควันหรือน้ำในการประกอบอาหาร ความชื้นและคราบเขม่าลอยฟุ้งไปเกาะขั้ว อายุการใช้งานหลอดจะหดลงไม่ถึงครึ่งของอายุการใช้งานจริง

 

6.ห้องรับประทานอาหาร dining-room  ห้องแห่งรางวัลของชีวิต-บางคนก็เรียกอย่างนี้ เป็นห้องที่ผู้รู้ด้านจิตวิทยาครอบครัวแนะนำว่า ไม่ควรมีโทรทัศน์อยู่ในห้อง เพราะแทนที่สมาชิกในครอบครัวจะคอนเนกชัน สังสรรค์ปฏิสัมพันธ์กัน ก็กลายเป็นไปจดจ่อกับจอโทรทัศน์แทน นอกจากนี้การรับประทานอาหารหน้าจอแบบกินไปดู (โทรทัศน์) ไป ทุกคราวคำจิตใจไปมุ่งที่โทรทัศน์ กลายเป็นคนอ้วนที่กินอย่างไร้สติ (ว้าย!)

 

ควรมีโคมไฟสีออกเหลืองนวล ชนิด Fresco 300, Fresco 400 หรือ T5 Fluorescent แขวนอยู่ตรงกลางโต๊ะอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และช่วยเพิ่มแสงสีให้อาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น ทั้งนี้ควรเป็นหลอดกลมเนื่องจากกระจายแสงได้ทั่วถึง อาจเพิ่มโคมไฟลอยที่ผนังด้วย เพื่อเพิ่มบรรยากาศความอบอุ่นและทำให้ห้องมีมิติ

 

7.บริเวณรอบตัวบ้าน  เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่น้อย ช่วงนี้เศรษฐกิจตกสะเก็ด โจรลักเล็กขโมยน้อย ตัดช่องย่องเบาเพิ่มจำนวนอย่างน่ากลัว รถจอดไว้ในบ้าน พวกยังปีนเข้ามาถอดเอาแบตเตอรี่ไปหน้าตาเฉย ป้องกันได้ด้วยการตามไฟไว้เป็นระยะรอบตัวบ้าน โดยระยะห่างของไฟที่ได้ผลคือ 3-4 เมตร ซึ่งให้แสงทั่วถึง สว่างเพียงพอ.

 

การเลือกหลอดไฟที่ใช้ตามไฟในบ้าน ควรเลือกโคมไฟชนิดหลอดแบบคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ Fluorescent แบบ 3-5 วัตต์ ทั้งนี้ต้องเลือกชนิดที่มีกระจกปิด เช่น หลอดไฟ LED, หลอด Micro lynx ซึ่งมีค่า IT ป้องกันฝุ่นและความชื้นตั้งแต่ 54, 55 และ 65 ขึ้นไป มีซีลยางป้องกันน้ำและแมลง หลอดไฟประเภทนี้อายุการใช้งานนานถึง 5 หมื่น-1 แสนชั่วโมง

 

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก : http://www.flower-light.com/home.php?section=article&categorie=learning&article=make-your-home-change-with-lamp

 

krukong Article


         ออกแบบระบบแสงสว่าง การประยุกต์การใช้งาน

          การส่องสว่างภายในอาคารสำนักงาน บ้านอยู่อาศัย โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สามารถประหยัดพลังงานแสงสว่างได้มากเมื่อเทียบกับการส่องสว่างภายในอย่างอื่น การส่องสว่างภายในอาคารมีความสำคัญสองประการ คือ การให้แสงสว่างเพื่อใช้งานได้สะดวกสบาย และ การให้แสงเพื่อให้เกิดความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการส่องสว่างแบบใดก็ตามก็ต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานแสงสว่างด้วยสำหรับในยุคปัจจุบันที่พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นและหายากยิ่ง

 

       เนื้อหาที่กล่าวถึงในบทนี้มีความประสงค์ให้ศึกษาแสงสว่างเพื่อการใช้งานแต่ละสถานที่ว่าประกอบด้วยแสงสว่างเพื่อการใช้งานแต่ละประเภทอย่างไร เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้หรือเลือกใช้เพื่อการประหยัดพลังงานอย่างถูกต้อง เพราะการประหยัดพลังงานแสงสว่างที่ถูกต้อง ต้องไม่ให้เกิดความสูญเสียทางด้านอื่นด้วย เช่น ประหยัดพลังงานแล้วทำให้ธุรกิจสูญเสียรายได้จำนวนมาก หรือประหยัดพลังงานแล้วทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการทำงานที่ทำให้เกิดอันตรายสูง เป็นต้น ดังนั้นเนื้อหาการประยุกต์ใช้งานในบทนี้เปรียบเสมือนการกล่าวถึงการให้แสงสว่างที่มีทั้งการให้ความส่องสว่างมากพอสำหรับการทำงาน การให้แสงสว่างเพื่อความสวยงามด้วย ดังนั้นผู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความประหยัดพลังงานก็ต้องพิจารณาเลือกใช้เพื่อให้เข้ากับการงานของตนเอง การส่องสว่างภายในเพื่อให้ใช้งานได้นั้น หมายถึง ต้องให้ได้ระดับความส่องสว่างอยู่ในเกณฑ์ที่ทำงานได้โดยไม่ต้องทำให้เพ่งสายตามากเกินไป ส่วนการส่องสว่างให้เกิดความสวยงามนั้นก็ต้องอาศัยความมีศิลป์ในตัวเพื่อพิจารณาในแง่การให้แสงแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) หรือการให้แสงแบบส่องเน้น (Accent Lighting)

     ระบบการให้แสงสว่างนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของห้อง ผู้อยู่ในห้อง การมองเห็น และสไตล์การตกแต่ง ระบบการให้แสงสว่างโดยพื้นฐานประกอบด้วย ระบบการให้แสงหลัก (Primary Lighting System) และระบบการให้แสงรอง (Secondary Lighting System)



     ระบบการให้แสงหลัก ซึ่งหมายถึงแสงสว่างพื้นฐานที่ต้องใช้เพื่อการใช้งานซึ่งแยกออกได้เป็นระบบต่างๆดังนี้

ก) แสงสว่างทั่วไป (General Lighting) คือ การให้แสงกระจายทั่วไปเท่ากันทั้งบริเวณพื้นที่ใช้งาน ซึ่งใช้กับการให้แสงสว่างไม่มากเกินไป แสงสว่างดังกล่าวไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามมากนัก ดังนั้นการประหยัดพลังงานสามารถทำได้ในแสงสว่างทั่วไปนี้

ข) แสงสว่างเฉพาะที่ (Localized Lighting) คือ การให้แสงสว่างเป็นบางบริเวณเฉพาะที่ทำงานเท่านั้น เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องให้สม่ำเสมอเหมือนแบบแรก เช่น การให้แสงสว่างจากฝ้าเพดานโดยติดตั้งเฉพาะเหนือโต๊ะหรือบริเวณใช้งานให้ได้ความส่องสว่างตามต้องการ การให้แสงสว่างลักษณะนี้ประหยัดกว่าแบบ ก) ข้างต้น

ค) แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป (Local Lighting + General Lighting) คือ การให้แสงสว่างทั้งแบบทั่วไปทั้งบริเวณ และเฉพาะที่ที่ทำงาน ซึ่งมักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูงซึ่งไม่สามารถให้แสงแบบแสงสว่างทั่วไปได้เพราะเปลืองค่าไฟฟ้ามาก เช่น การให้แสงสว่างจากฝ้าเพดานเพื่อส่องบริเวณทั่วไป และที่โต๊ะทำงานติดโคมตั้งโต๊ะส่องเฉพาะต่างหากเพื่อให้ได้ความส่องสว่างสูงมากตามความต้องการของงาน

ระบบการให้แสงสว่างหลัก คือ การออกแบบระบบแสงสว่างให้มี

ความส่องสว่างเพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้นๆ ระบบการให้แสงรอง หมายถึงการให้แสงนอกเหนือจากการให้แสงหลักเพื่อให้เกิดความสวยงามเพื่อความสบายตา ซึ่งแยกออกได้ดังนี้

ก) แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting) เป็นการให้แสงแบบส่องเน้นที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเพื่อให้เกิดความสนใจ โดยทั่วไปแสงประเภทนี้ได้มาจากแสงสปอต

ข) แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) หมายถึงแสงเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ส่องเน้นวัตถุเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่นโคมที่ติดตั้งที่เพดานเพื่อสร้างรูปแบบของแสงที่กำแพง เป็นต้น

ค) แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting) เป็นแสงที่ได้จากโคมหรือหลอดที่สวยงามเพื่อสร้างจุดสนใจในการตกแต่งภายใน

ง) แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting) บางทีก็เรียก Structural Lighting ให้แสงสว่างเพื่อให้สัมพันธ์กับงานทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น การให้แสงไฟจากหลืบ การให้แสงจากบังตา หรือการให้แสงจากที่ซ่อนหลอด

จ) แสงสว่างตามอารมณ์ (Mood Lighting) แสงสว่างประเภทนี้ไม่ใช่เทคนิคการให้แสงพิเศษแต่อย่างใด แต่อาศัยการใช้สวิตช์หรือตัวหรี่ไฟเพื่อสร้างบรรยากาศของแสงให้ได้ระดับความส่องสว่างตามการใช้งานที่ต้องการ

ระบบการให้แสงสว่างรอง คือ การออกแบบให้มีแสงสว่างให้เกิด

ความสวยงาม หรือเน้นเพื่อให้เกิดความสนใจ สบายตา และอารมณ์ ระบบการให้แสงสว่างหลัก หมายถึงการให้แสงสว่างให้เพียงพอเพื่อการใช้งาน เช่น ห้องทำงานต้องให้ความสว่างที่โต๊ะทำงานให้มีความส่องสว่างอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 500 ลักซ์ เป็นต้น เมื่อได้ความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานแล้วบริเวณที่เหลือ เช่นการส่องสว่างที่ผ้าม่านเพื่อให้เกิดวงแสงหรือรูปแบบของแสง หรือการส่องสว่างเน้นที่ต้นไม้ที่ปลูกในกระถางภายในห้องก็เป็นแสงสว่างรอง คือ เป็นการให้แสงเพื่อความสวยงาม เป็นต้น การให้แสงสว่างที่ดี ควรมีทั้งระบบการให้แสงสว่างหลักและแสงสว่างรอง

     5.1 การส่องสว่างในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และ โรงแรม การส่องสว่างภายในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และโรงแรม ไม่จำเป็นต้องให้มีแสงสว่างสม่ำเสมอ การให้แสงสว่างต้องระวังในเรื่องของความสวยงามประกอบด้วย เพราะบางครั้งการเน้นในเรื่องของการประหยัดพลังงานอาจทำให้เกิดการสูญเสียในเรื่องของความสวยงามด้วย การเน้นทางด้านการประหยัดพลังงานมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสูญเสียในเรื่องความสวยงาม การส่องสว่างภายในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และโรงแรมควรให้แสงแบบอบอุ่น ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้แสงสีเหลืองจากหลอดอินแคนเดสเซนต์ ฮาโลเจน หรือหลอดคอมแพคท์แบบวอร์มไวท์ (Warm White) เพราะมีสีเหลืองคล้ายกัน หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ ถือว่าเป็นหลอดประหยัดพลังงานแสงสว่างแทนหลอดอินแคนเดสเซนต์ หรือฮาโลเจนได้ แต่อาจต้องระวังคือ หลอดคอมแพคท์ไม่สามารถทำเป็นไฟส่องเน้นได้ดีเหมือนหลอดอินแคนเดสเซนต์ เพราะแหล่งกำเนิดแสงมีขนาดใหญ่ กรณีที่เป็นทางเดินหรือใช้ภายนอกซึ่งต้องมีการเปิดไฟแสงสว่างทิ้งไว้ทั้งคืนก็ควรใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์หรือฟลูออเรสเซนต์ เพราะอายุการใช้งานนานกว่าหลอดมีไส้ถึง 4-8 เท่า แสงจากหลอดที่ให้แสงสีเหลืองดูน่าอบอุ่นสำหรับบ้าน และ โรงแรม ความส่องสว่างโดยทั่วไปที่ใช้ในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และ โรงแรมใช้ประมาณ 100-200 ลักซ์สำหรับพื้นที่ทั่วๆไป ความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทั่วไปใช้ 100-200 ลักซ์ ความส่องสว่างพื้นที่ต่างๆในบ้านอยู่อาศัยและพื้นที่ข้างเคียงกำหนดไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้แสงสว่างดังแสดงในตารางที่ 5.1 และ ความสัมพันธ์ระหว่างความส่องสว่างในพื้นที่ทำงาน และ พื้นที่ข้างเคียงได้กำหนดไว้ในตารางที่ 5.2



ตารางที่ 5.1 ความส่องสว่างในพื้นที่ใช้งานต่างๆในบ้านอยู่อาศัย

พื้นที่ต่างๆ
ความส่องสว่างที่พื้นที่(ลักซ์)
ความส่องสว่างรอบข้าง(ลักซ์)
ทางเข้า
150/500
60/100
ห้องครัว
500/750
500/750
ห้องรับประทานอาหาร
300
100
ห้องนั่งเล่น
60/300
60
ห้องทำงาน
300
150
ห้องน้ำ
500
200
ห้องน้ำแขก
250
100
ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า
500
200
ห้องนอนใหญ่
300/500
100/150
ห้องนอนเด็ก
300
150
ทางเดิน
150
50
บันได
200
60
ถนนทางเข้าบ้าน
300
100

ตารางที่ 5.2 ความสมดุลระหว่างความส่องสว่างของพื้นที่ใช้งานและข้างเคียง

รายการ
ค่าที่ต้องการ
ค่าต่ำสุด
พื้นที่ติดกับพื้นใช้ทำงาน
1/3 ของพื้นที่ใช้งาน
1/5 ของพื้นที่ใช้งาน
พื้นที่รอบข้าง
1/5 ของพื้นที่ใช้งาน
1/10 ของพื้นที่ใช้งาน

  เทคนิคการให้แสงสว่างในบ้าน อพาร์ตเมนท์ โรงแรมในพื้นที่ต่างๆเพื่อการประหยัดพลังงานสามารถสรุปได้ดังนี้

ก)        การใช้โคมไฟส่องลง

ข)        การให้แสงสว่างจากไฟหลืบ

ค)        การให้แสงสว่างในห้องน้ำ

ง)         การให้แสงสว่างในห้องครัว

จ)        การให้แสงในห้องนอน

ฉ)        การให้แสงสว่างทางเดิน



ก) การใช้โคมไฟส่องลงสำหรับความสูงฝ้า 2.5 เมตร ถ้าเป็นงานที่ต้องการแสงสีที่ไม่เพี้ยนก็ใช้อินแคนเดสเซนต์ใช้ประมาณ 10 วัตต์/ตารางเมตร/100 ลักซ์  แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะโคมไฟที่ต้องเปิดทิ้งไว้นาน ใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ใช้ไฟฟ้าประมาณ 3 วัตต์/ตารางเมตร/100 ลักซ์

ถ้าต้องการติดตั้งโคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ต้องระวังเรื่องความใหญ่ของโคมด้วย ตัวอย่างเช่นหลอดคอมแพคท์ที่ให้แสงปริมาณเดียวกับหลอดอินแคนเดสเซนต์ 100 วัตต์ GLS คือ หลอด 18 วัตต์ ซึ่งโคมสำหรับหลอดคอมแพคท์ 18 วัตต์ มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อใช้หลอดมีไส้มาก  ดังนั้นอาจต้องลดขนาดวัตต์ลงมาเพื่อไม่ให้โคมดูใหญ่น่าเกลียดและอาจได้วัตต์ที่เหมาะสมกับขนาดของโคมที่ต้องการคือ 10, 13, 2x7, 2x9 เป็นต้น  แต่ทั้งนี้ควรเช็คขนาดของโคมให้แน่ใจเสียก่อน 

การเลือกโคมไฟส่องลงที่ใช้หลอดคอมแพคท์ต้องระวัง

เรื่องความใหญ่ของโคมบนฝ้าด้วย อาจทำให้ต้องเลือกวัตต์ต่ำ และใช้หลายโคมแทน

สำหรับการเลือกขนาดวัตต์ของโคมเพื่อการใช้งานอาจใช้หลักการง่ายๆสำหรับพื้นที่ไม่สำคัญ เช่น ทางเดิน โดยใช้ 3 วัตต์/ตารางเมตร/100ลักซ์ สำหรับความสูงฝ้า 2.5 เมตร  เช่น ทางเดินขนาด 2x12 เมตรถ้าเลือกหลอดขนาด 10 วัตต์ และต้องการความส่องสว่างที่ประมาณ 50 ลักซ์ ก็ใช้วัตต์โดยประมาณ 2x12x1.5 = 36 วัตต์  ดังนั้นใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ 10 วัตต์ 4 โคม เป็นต้น

การเลือกโคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์นั้นมีทั้งชนิดหลอดติดตั้งในแนวนอน และหลอดติดตั้งในแนวตั้ง โคมที่มีหลอดติดตั้งในแนวนอนมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแสงบาดตา แต่มักมีปัญหาเรื่องขนาดของโคมจะใหญ่ แต่ถ้าเป็นโคมที่หลอดติดตั้งในแนวตั้ง ขนาดของโคมไม่ใหญ่มากนัก แต่มักมีปัญหาเรื่องแสงบาดตาที่ต้องพิถีพิถันในการเลือกโคมพอสมควร

โคมที่มีหลอดติดตั้งในแนวนอน มักมีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีปัญหาเรื่องแสงบาดตา

โคมที่มีหลอดติดตั้งในแนวตั้งมักมีปัญหาเรื่องแสงบาดตา แต่โคมมีขนาดเล็กลง

ความสูงฝ้าที่ใช้ในการคำนวณที่ผ่านมาอยู่ประมาณ 2.4-2.7 เมตร เท่านั้น  ถ้าใช้ความสูงฝ้ามากกว่านี้ก็ต้องมาคำนวณ  หรืออาจใช้ตารางสำเร็จรูปที่กำหนดโดยผู้ผลิต  เช่น ห่างจากโคมระยะเท่าใดได้ความส่องสว่างเท่าใด  ความส่องสว่างเพื่อการใช้งานนั้นเป็นค่าที่กำหนดเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานโดยประมาณเท่านั้น เช่นต้องการ 100 ลักซ์ตามมาตรฐานแต่ในทางปฏิบัติอาจได้ 80 หรือ 120 ลักซ์ก็ถือว่ายังใช้ได้  ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการความส่องสว่างสูงที่ต้องระวังต้องไม่ให้น้อยเกินไปเพราะความส่องสว่างไม่พอใช้งาน  หรือความส่องสว่างมากเกินไปก็ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง

ข) การให้แสงสว่างจากไฟหลืบเป็นการให้แสงที่ต้องการแสงนิ่มนวล  แต่การให้แสงแบบนี้ไม่ประหยัดพลังงานเพราะแสงที่เล็ดลอดออกมาค่อนข้างน้อย   หลืบควรมีช่องเปิดที่ไม่เล็กเกินไป  ถ้าต้องการประหยัดพลังงานไม่ควรใช้การให้แสงแบบนี้

การให้แสงสว่างจากไฟหลืบไม่ประหยัดพลังงาน

แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรให้ช่องเปิดแสงใหญ่เพื่อไม่เปลืองมากเกินไป

หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดตั้งในหลืบสำหรับการส่องสว่างแบบกลมกลืนทั่วห้อง

ช่องเปิด

ขนาดเบ้า



รูปที่ 5.1 การให้แสงสว่างจากหลืบ

 

ช่องเปิดต้องให้มีขนาดสัมพันธ์กับขนาดเบ้าเพื่อเพดานที่เบ้าสว่างทั้งหมดแทนที่จะเป็นที่ขอบเบ้าเท่านั้น  ช่องเปิดโดยทั่วไปควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า 

 

ช่องเปิดไฟหลืบควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า

          เนื่องจากการให้แสงสว่างจากไฟหลืบไม่ได้เน้นการให้แสงที่มีความส่องสว่างสูง แต่ต้องการให้แสงที่นุ่มนวล  การคำนวณแสงสว่างจากไฟหลืบเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ  โดยทั่วไปความส่องสว่างจากไฟหลืบมากที่สุดมีค่าอยู่ประมาณ 100-200 ลักซ์ 

การหาจำนวนหลอดไฟเพื่อให้มีความส่องสว่างประมาณขนาดนี้สำหรับห้องที่มีความสูง 2.5-3 เมตร สามารถคำนวณได้โดยวิธีวัตต์ต่อตารางเมตรได้ดังนี้

ไฟหลืบฟลูออเรสเซนต์ใช้  8-12 วัตต์/ตารางเมตร/100 ลักซ์

กรณีที่หลืบมีช่องเปิดไฟกว้างกว่า 1/10 ของขนาดเบ้า ก็ใช้ 8 วัตต์ต่อตารางเมตร    ถ้าหลืบมีช่องเปิดแคบกว่า 1/10 ของขนาดเบ้าก็ใช้ 12 วัตต์ต่อตารางเมตร   บางครั้งคำนวณแล้วปรากฏว่าต้องใส่หลอดจำนวนมากและเกินกว่าที่จะมใส่ไว้ในช่องหลืบทั้งหมดได้  แสดงว่าหลืบมีจำนวนหลุมน้อยไป   อาจต้องปรึกษากับสถาปนิก หรือมัณฑนากรเพื่อร่วมกันแก้ไขเพื่อให้ได้จำนวนหลอดตามที่ต้องการหรือแก้ไขอย่างอื่น  การแก้ไขเพื่อให้ใส่จำนวนหลอดได้มากขึ้นโดยการเปลี่ยนเบ้าให้มากขึ้นได้แสดงไว้ในรูปที่ 5.2

การให้แสงสว่างจากไฟหลืบดังกล่าวข้างต้นนี้ เพดานของหลืบต้องมีสีขาวหรือสีอ่อนมาก แสงในหลืบจึงสามารถสะท้อนแสงออกมาให้ความสว่างกับห้องได้  ถ้าเพดานหลืบเป็นสีทึบเช่น สีน้ำเงิน หรือสีโทนมืด  แสงสว่างจากไฟหลืบก็ต้องคิดเป็นแสงสว่างเพื่อการตกแต่งเท่านั้น  ดังนั้นแสงสว่างสำหรับพื้นที่ในห้องก็ต้องมาจากแหล่งจ่ายแสงอื่นแทนที่จะมาจากหลืบ

หลอดทั้งหมด 16  หลอด

หลอดทั้งหมด 20 หลอด

รูปที่ 5.2 การแก้ไขจากไฟหลืบหนึ่งเบ้ามาเป็นแบบสองเบ้าเพื่อให้แสงมากขึ้น

การให้แสงสว่างจากหลืบเพื่อส่องสว่างพื้นที่ควรมีเพดานสีขาวหรือสีอ่อน 

มิฉะนั้นแล้วแสงจากไฟหลืบที่เพดานเป็นสีทึบก็เป็นเพียงไฟตกแต่งเท่านั้น

ค) การให้แสงสว่างในห้องน้ำ      การให้แสงสว่างในห้องน้ำมีทั้งการให้แสงเพื่อการส่องหน้า และเพื่อกิจกรรมอย่างอื่นแต่ส่วนมากใช้แสงสว่างในเวลาสั้น ดังนั้นการพิจารณาโคมไฟฟ้าห้องน้ำไม่คุ้มกับการเปลี่ยนหลอดหรือโคมจากหลอดมีไส้มาเป็นหลอดคอมแพคท์ เป็นต้น  การให้แสงในห้องน้ำเพื่อการประหยัดพลังงานต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้ 

-  บริเวณหน้ากระจกส่องหน้าควรมีแสงสว่างที่มากพอเพื่อไว้ใช้แต่งหน้า  โกนหนวด เป็นต้น  ไฟที่ใช้มีได้ทั้งสองอย่าง คือ ไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดอิน แคนฯหรือจากหลอดคอมแพคท์วอร์มไวท์  ผลที่ได้ออกมาไม่เหมือนกัน  ถ้าบริเวณหน้ากระจกดังกล่าวถ้าใช้สำหรับการแต่งหน้าด้วยควรมีการใช้ไฟแสงสว่างทั้งสองแบบ เพราะถ้าต้องการ แต่งหน้าเพื่อไปทำงานในเวลากลางวันก็ควรใช้ไฟฟลูออเรสเซนต์แบบคูลไวท์ (Cool White) หรือ เดไลท์ (Daylight) ถ้าต้องการแต่งหน้าเพื่อไปออกงานกลางคืนก็ใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์หรือคอมแพคท์วอร์มไวท์เพราะงานที่ไปส่วนใหญ่ เช่น งานเลี้ยงหรือ ในโรงแรมก็มักใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์  ตัวอย่างการให้แสงสว่างที่หน้ากระจกเพื่อการแต่งหน้าได้แสดงในรูปที่ 5.3

การเปลี่ยนไปใช้หลอดประหยัดพลังงานในพื้นที่ที่ไม่ได้มีการเปิดไฟใช้นานมาก

เช่นในห้องน้ำอาจไม่คุ้มเหมือนพื้นที่ทั่วไป

มีโคมฟลูออเรสเซนต์พร้อมฝาครอบสีขาวทั้งสองด้านของกระจก  และมีโคมไฟส่องลงด้วยหลอดอินแคนเดสเซนต์หรือคอมแพคท์วอร์มไวท์  โคมไฟส่องลงควรใช้แบบแสงกว้างเพื่อไม่ให้เกิดเงาเข้มที่ใบหน้า

มีหลอดอินแคนเดสเซนต์หลอดละ 15-25 วัตต์ข้างกระจกข้างละ 4-6 หลอด  หลอดมีขนาดวัตต์ต่ำเพื่อไม่ให้เกิดแสงบาดตา และมีโคมฟลูออเรสเซนต์ประเภทคูลไวท์ส่องลงทางด้านบนสำหรับการแต่งหน้าเพื่อไปทำงานกลางวัน

มีโคมไฟกิ่งหลอดอินแคนเดสเซนต์หรือคอมแพคท์วอร์มไวท์ทั้งสองด้านของกระจก และมีโคมฟลูออเรสเซนต์ประเภทคูลไวท์ ส่องด้านบน

รูปที่ 5.3 การส่องสว่างที่หน้ากระจกหลายแบบที่ประกอบด้วยฟลูออเรสเซนต์และอินแคนเดสเซนต์ หรือคอมแพคท์เพื่อให้การแต่งหน้าสะดวกเพื่อใช้ออกงานกลางวันหรือกลางคืน

การใช้หลอดประหยัดพลังงานในบางพื้นที่อาจสูญเสียเรื่องความสวยงาม

ซึ่งผู้ออกแบบต้องตัดสินใจโดยพิจารณาหลายองค์ประกอบ

 

- บริเวณที่ใช้ฝักบัวเพื่ออาบน้ำก็ควรใช้โคมที่สามารถป้องกันไอน้ำที่ออกมากับฝักบัว ด้วย เช่น โคมแบบมีครอบแก้ว เป็นต้น  บริเวณดังกล่าวต้องการความส่องสว่างเท่านั้นโดยไม่ต้องเน้นในเรื่องความถูกต้องสีมาก ดังนั้นอาจใช้โคมที่ใส่หลอดคอมแพคท์เพื่อไม่ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อยๆ  ซึ่งอาจใช้  2x7  2x9  13  หรือ 18 วัตต์

โคมไฟพร้อมครอบแก้วป้องกันไอน้ำที่เกิดจากฝักบัว

โคมไฟส่องที่หน้ากระจกและสว่างพอสำหรับการอ่านที่ชักโครก

รูปที่ 5.4 ไฟส่องในห้องน้ำ

ง) การให้แสงสว่างในห้องครัว การให้แสงสว่างในห้องครัวควรให้สว่างมากพอเพื่อสามารถหุงหาอาหาร หาของที่อยู่ภายในตู้ต่างๆได้ และมีความส่องสว่างมากพอบริเวณล้างจาน ดังนั้นเพื่อการประหยัดพลังงาน หลอดไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับห้องครัวที่ได้มีการแยกสัดส่วนต่างหากออกไปก็คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ ยกเว้นห้องอุ่นอาหาร หรือ Pantry ที่มีพื้นที่ติดต่อกับพื้นที่ทีมีความสวยงามก็ต้องใช้หลอดสีวอร์มไวท์เป็นหลัก การออกแบบแสงสว่างบางครั้งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบร่วมกัน

ห้องครัวที่ได้มีการแยกพื้นที่เป็นสัดส่วนออกไปควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์

หรือคอมแพคท์ เพื่อให้ได้ความส่องสว่างเพื่อการใช้งาน

 

ห้องอุ่นอาหาร หรือ Pantry ที่ไม่ได้แยกพื้นที่ออกจากพื้นที่ที่มีความสวยงาม

ควรระวังเรื่องแสงระหว่างพื้นที่ด้วย

พิจารณารูปที่ 5.5 (ก) ห้องครัวถูกแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน ดังนั้นห้องครัวใช้ฟลูออเรสเซนต์เพื่อให้ความส่องสว่างสูงได้ แต่มีประตูที่เมื่อเปิดออกแล้วอาจมีแสงกวนระหว่างพื้นที่ ดังนั้นแสงสว่างบริเวณพื้นที่ต่อกันต้องให้แสงสว่างออกสีวอร์มไวท์ซึ่งอาจใช้หลอดคอมแพคท์วอร์มไวท์ เพื่อไม่ให้แสงสว่างฟลูออเรสเซนต์จากในห้องครัวออกมากวนในพื้นที่ตกแต่งภายนอก

รูปที่ 5.5 (ข) ห้อง Pantry ติดกับพื้นที่ตกแต่งซึ่งมีเพียงเคาน์เตอร์คั่นไว้ ดังนั้นการให้แสงสว่างในห้อง Pantry ควรกลมกลืนกับพื้นที่ที่ตกแต่งด้วยแสงสว่างแบบเดียวกัน

ความส่องสว่างบริเวณภายในครัวควรอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 300 ลักซ์เป็นอย่างน้อย   แสงระดับนี้อาจใช้ฟลูออเรสเซนต์ร่วมกับโคมไฟหลอดคอมแพคท์วอร์มไวท์ เพื่อให้กลมกลืนกับพื้นที่ข้างเคียงในบ้านอยู่อาศัยที่ใช้หลอดไฟสีเหลือง

ห้องครัว

พื้นที่ตกแต่ง

Pantry

พื้นที่ตกแต่ง

ก)

ข)

รูปที่ 5.5 การให้แสงระหว่างพื้นที่ที่ติดกัน

(ก)          การให้แสงให้กลมกลืนที่ทางเข้าระหว่างพื้นที่

(ข)          การให้แสงทั้งสองพื้นที่ต้องกลมกลืนกัน


นอกจากแสงสว่างทั่วไปในห้องครัวแล้วควรมีโคมไฟส่องโดยตรงที่บริเวณอ่างล้างจานด้วยถ้าไฟแสงสว่างทั่วไปในห้องครัวไม่สว่างพอหรือเกิดการบังแสงเมื่อยืนที่อ่างล้างจาน  ไฟที่อยู่ในห้องครัวควรวางในตำแหน่งที่เหมาะเพื่อให้แสงส่องเข้าที่ภายในตู้ลอยด้วย  มีหลายครั้งเหมือนกันที่เจ้าบ้านรู้สึกหงุดหงิดที่เวลาเปิดตู้ลอยแล้วมองหาของภายในตู้ได้ลำบากมาก  และควรมีไฟแสงสว่างใต้ตู้ลอยด้วยเพื่อส่องสว่างเคาน์เตอร์ เพื่อการหุงหาอาหาร

สรุปแล้วไฟแสงสว่างที่อยู่ภายในห้องครัวควรประกอบด้วยกลุ่มไฟดังนี้

-  ไฟแสงสว่างที่เพดานเพื่อการส่องบริเวณในครัว รวมทั้งส่องสว่างเข้าภายในตู้ลอยด้วย

-  ไฟแสงสว่างใต้ตู้ลอยเพื่อการส่องสว่างสำหรับทำกิจกรรมต่างๆใต้ตู้ลอย

-  ไฟแสงสว่างเหนืออ่างล้างจาน

รูปที่ 5.6 การให้ความส่องสว่างในห้องครัว

ตู้ลอย

เคาน์เตอร์

อ่างล้างจาน

โคมไฟส่องสว่างทั้งห้อง รวมทั้งให้ความสว่างเข้าไปในตู้ลอย และให้ความสว่างที่อ่างล้างจาน

โคมไฟใต้ตู้ลอย


ในกรณีที่ความส่องสว่างของไฟกลุ่มใดให้แสงสว่างได้มากพอก็อาจไม่ต้องติดไฟแสงสว่างอีกกลุ่มก็ได้  เช่น ไฟแสงสว่างที่เพดานเพื่อการส่องสว่างในครัว ถ้าให้ความสว่างมากพอที่บริเวณอ่างล้างจานด้วย ก็ไม่ต้องติดไฟแสงสว่างเหนืออ่างล้างจาน เป็นต้น

     โคมไฟส่องลง

     โคมไฟสาดกำแพง

               โคมไฟฟลูออเรสเซนต์

<

รูปที่ 5.7 การให้แสงสว่างรูปแบบต่างๆกันในห้องครัว

โคมไฟส่องลงหรือโคมไฟสาดกำแพงในรูปบนควรใช้โคมคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์เพื่อการประหยัดพลังงาน

จ) การให้แสงในห้องนอน  ควรให้แสงเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น คือ ตู้เก็บเสื้อผ้าควรมีแสงส่องเข้าไปซึ่งอาจติดไฟข้างในตู้ หรือ ติดไฟฝังด้านนอกสาดตู้   บริเวณด้านหน้าหรือด้านข้างโทรทัศน์ควรมีไฟส่องเพื่อไม่ให้แสงบริเวณรอบโทรทัศน์มืดเกินไป นอกจากนั้นอาจติดตั้งไฟส่องลงที่หน้าประตู หรือตามทางเดินเพื่อสามารถเดินเหินได้สะดวก ไฟในห้องนอนที่ใช้อ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ใช้สายตาก็มักใช้แสงจากไฟตั้งโต๊ะ กรณีที่มีการติดตั้งรูปภาพภายในห้องหรือที่หัวเตียงอาจใช้ไฟส่องเพิ่มถ้าต้องการให้แสงเน้น

แสงสว่างภายในห้องนอนใช้ไฟตั้งโต๊ะช่วยได้มากเพราะให้แสงไม่บาดตา  นอกจากนั้นยังใช้เป็นโคมไฟให้แสงสว่างทั่วไปทั้งห้องได้ด้วย  ดังนั้นถ้าห้องนอนมีโคมไฟตั้งโต๊ะมากพอบางครั้งก็ไม่ต้องติดตั้งโคมไฟที่เพดานเพื่อการส่องทั่วบริเวณ  นอกจากนั้นถ้าที่ห้องนอนใช้การให้แสงจากตัวบังตาเพื่อการส่องผ้าม่านก็ใช้เป็นแสงสว่างทั่วไปในห้องนอนได้ด้วย  การให้แสงสว่างในแต่ละพื้นที่สามารถทำได้หลายอย่างหรือหลายแบบ  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวาดมโนภาพว่าห้องนอนควรให้ความส่องสว่างแบบไหนจึงให้ทั้งความสวยงามและการใช้งานได้ในเวลาเดียวกันตามจินตนาการของมัณฑนากร

          ตัวอย่างการให้แสงสว่างในห้องนอนได้แสดงไว้ในรูปที่ 5.8 ซึ่งการให้แสงสว่างในรูปดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น การให้แสงสว่างในพื้นที่ดังกล่าวอาจมีการให้แสงสว่างได้หลายอย่างซึ่งแล้วแต่ผู้ออกแบบแต่ละราย ถ้าต้องการประหยัดพลังงานก็ใช้หลอดคอมแพคท์แบบวอร์มไวท์แทนหลอดอินแคนเดสเซนต์ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งที่โคมไฟส่องลง และโคมไฟตั้งโต๊ะ

 

รูปที่ 5.8 ตัวอย่างการให้แสงสว่างในห้องนอน

ฉ. การให้แสงสว่างทางเดิน สำหรับภายในบ้านที่มีความสูงฝ้าโดยเฉลี่ยที่ 2.5 เมตร ก็ให้ติดตั้งโคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ 3 วัตต์ต่อตารางเมตรจะให้ความส่องสว่างประมาณ 100 ลักซ์ที่พื้น โดยอาจใช้โคมที่ใช้หลอด 10 หรือ 13 วัตต์หลอดวอร์มไวท์ ส่วนโคมที่ใช้หลอดที่มีวัตต์สูงอาจมีปัญหาเรื่องขนาดโคมซึ่งมักมีขนาดใหญ่มาก

         ความส่องสว่างที่ 100 ลักซ์ถือว่าเป็นความส่องสว่างที่พอเหมาะแล้วสำหรับพื้นที่ที่ไม่ได้ทำกิจกรรมอย่างอื่น  และเนื่องจากตามทางเดินมีหน้าต่างหรือประตู ดังนั้นการใส่โคมไฟส่องลงควรวางที่ตรงกลางหน้าประตูหรือหน้าต่างเพื่อให้เกิดเงาที่สมมาตรที่หน้าต่างหรือประตู  ไม่จำเป็นต้องวางโคมให้มีระยะห่างเท่ากันตลอด และเพื่อให้การส่องสว่างสม่ำเสมอบ้างก็ควรวางโคมไฟส่องลงทุกๆ 2-3 เมตร ถ้าหากระยะระหว่างนี้จะห่างไปอีกบ้างก็คงไม่เป็นไรถ้าจำเป็นต้องวางโคมให้อยู่กลางประตูหรือหน้าต่าง  แต่ถ้าประตูหรือหน้าต่างมีจำนวนมากหรือติดกันมากบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องวางให้ตรงหน้าประตูหรือหน้าต่างเพราะจะทำให้อยู่ชิดกันมากเกินไป


รูปที่ 5.9  การให้แสงสว่างบริเวณทางเดินให้ตรงกึ่งกลางหน้าต่างและประตูเพื่อให้เกิดเงาที่กึ่งกลางประตูและหน้าต่าง

          การให้แสงสว่างทางเดินที่กล่าวมาแล้วนั้นบางครั้งต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ก็ควรใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์แบบวอร์มไวท์ หลอดขนาดวัตต์ที่ใช้กันมากได้แก่หลอดคอมแพคท์ 9, 10 หรือ 13 วัตต์ ซึ่งขนาดโคมของหลอดดังกล่าวไม่ใหญ่มากเกินไป  โดยใช้จำนวนประมาณ 3 วัตต์ต่อตารางเมตรต่อ 100 ลักซ์   เช่นทางเดินกว้าง 2 เมตร ยาว 12 เมตร  ถ้าต้องการความส่องสว่างประมาณ 100 ลักซ์ใช้วัตต์ของหลอดคอมแพคท์ประมาณ 2x12x3 = 72 วัตต์ หรือใช้โคมไฟส่องลงหลอดคอมแพคท์ 10 วัตต์ทั้งหมดประมาณ  7-8 โคม เป็นต้น

5.2. การส่องสว่างสำนักงาน

          การส่องสว่างสำนักงานต้องให้ได้แสงสว่างสม่ำเสมอ ยกเว้นกรณีที่เป็นห้องต้อนรับ หรือเป็นบริเวณที่ไม่ได้ใช้ทำงานก็ไม่ต้องให้มีแสงสว่างสม่ำเสมอ  การส่องสว่างสำนักงานโดยทั่วไปก็ใช้หลอด ฟลูออเรสเซนต์คูลไวท์ (Cool White) หรือ เดไลท์ (Daylight)

          โคมไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โคมตัวสะท้อนแสงอะลูมิเนียม (Aluminum Reflector) อะลูมิเนียมมีสองแบบ คือ แบบกระจกเงา และ แบบด้าน   วัสดุที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพการสะท้อนแสงที่ดี เช่นมีสัมประสิทธิการสะท้อนแสงของตัวสะท้อนแสง 95 % เป็นต้น และนอกจากนี้ต้องมีการออกแบบโคมที่ดีด้วย การพิจารณาโคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานควรพิจารณาจากประสิทธิภาพโดยรวมของโคมไฟฟ้า h (ปริมาณแสงที่ออกจากโคม/ ปริมาณแสงที่ออกจากหลอด) เป็นเกณฑ์

โคมประหยัดพลังงานควรพิจารณาจากประสิทธิภาพโดยรวม (h) ของโคม

รวมทั้งแสงบาดตา และกราฟกระจายแสงของโคมที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่

โคมไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานควรมีคุณสมบัติอย่างไรนั้นพอบอกได้ดังนี้ คือต้องเป็นโคมที่มีประสิทธิภาพสูง และมีแสงบาดตาไม่มากเกินไป และมีกราฟกระจายแสงที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในแต่ละพื้นที่

                              รูปที่ 5.10 การให้แสงสว่างบริเวณทางเข้าสำนักงาน

5.2.1 พื้นที่สำนักงานเปิดหมายถึง พื้นที่ขนาดใหญ่ไม่ได้กั้นเป็นห้อง หรือ กั้นคอก การให้แสงในลักษณะนี้ก็วางโคมแบบให้แสงสม่ำเสมอหมดทั้งพื้นที่ดังแสดงในรูปที่ 5.11 การให้แสงพื้นที่เปิดควรระวังไม่ให้ระยะห่างระหว่างโคมมากเกินไป  เพราะในทางปฏิบัติพื้นที่สำนักงานเปิดอาจมีการกั้นคอก (Partition)   ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงเงาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังแสงจากผนังที่เอามากั้นไว้ถ้าโคมวางห่างเกินไป แต่ถ้าไม่มีการกั้นคอกโคมไฟฟ้าที่มีการกระจายแสงในแนวกว้างก็เหมาะเพราะไม่ต้องใช้จำนวนโคมมากเกินไป

          ถ้าสำนักงานเปิดมีเพดานที่สูงเช่น ตั้งแต่ 2.8 ม.เป็นต้นไป การพิจารณาโคมที่ใช้ควรเลือกโคมที่มีแสงไม่กระจายมากเพื่อให้แสงลงมาที่โต๊ะทำงานมากขึ้นดังแสดงในรูปที่ 5.12

              รูปที่ 5.11 การให้แสงสว่างสม่ำเสมอในพื้นที่สำนักงานเปิด

cd/Klm

0o

30o

60o

100

200

300

400

500

cd/Klm

0o

30o

60o

100

200

300

400

500

  ก)                                                        ข)

รูปที่ 5.12 กราฟกระจายแสงโคมฟลูออเรสเซนต์เพื่อการใช้งานพื้นที่ต่างกัน

ก)              เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เพดานไม่สูงมาก

ข)             เหมาะสำหรับพื้นที่เพดานสูง

สำนักงานเปิดที่มีเพดานสูงควรใช้โคมที่มีแสงกระจายด้านข้างน้อย

ทั้งนี้เพื่อประหยัดพลังงาน และเมื่อมีการกั้นคอกก็ไม่มีปัญหามาก

5.2.2 สำนักงานกั้นคอก  หมายถึง สำนักงานที่มีการกั้นคอกสูง (Partition)  ซึ่งโดยมากมักจะอยู่ติดกับพื้นที่สำนักงานเปิด   การให้แสงที่บริเวณนี้ก็อาจต้องมีการจัดโคมใหม่จากแนวเดิมของพื้นที่สำนักงานเปิด เพื่อให้แสงส่องลงบริเวณที่กั้นคอก  และการออกแบบในบริเวณดังกล่าวเมื่อต้องใช้สูตรการคำนวณแบบลูเมนต้องพิจารณาผลของการกั้นคอกสูงด้วย เพราะการกั้นคอกดังกล่าวทำให้ความส่องสว่างลดลงมากเหลือ 70-80%  เช่น เมื่อยังไม่มีการกั้นคอกสูง วัดความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานได้ 500 ลักซ์ เมื่อมีคอกกั้นสูง ความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานอาจเหลือเพียง    500x0.7 = 350 ลักซ์ เป็นต้น

ความส่องสว่างสำหรับสำนักงานกั้นคอกลดลงเหลือ 70-80 % จากที่คำนวณได้

          โคมไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับสำนักงานกั้นคอกควรเป็นโคมฟลูออเรสเซนต์ที่มีการกระจายแสงด้านข้างน้อย เพราะถ้าใช้โคมที่มีกราฟกระจายแสงตามในรูปที่ 5.12ก) และตั้งโคมห่างกันมากทำให้พื้นที่กั้นคอกบางพื้นที่ไม่มีโคมอยู่เหนือพื้นที่ แสงในบริเวณนั้นก็มืดมากกว่าพื้นที่อื่นๆ

โคมที่เหมาะสำหรับสำนักงานแบบกั้นคอกควรเป็นโคมที่กราฟกระจายแสงด้านข้างไม่มาก

5.2.3 ห้องสำนักงานหมายถึง สำนักงานที่กั้นเป็นห้อง เช่น ห้องผู้จัดการ เป็นต้น  การให้แสงในสำนักงานที่เป็นห้องนี้ พิจารณาได้เป็น 2 อย่าง คือ ถ้าห้องมีการปรับเปลี่ยนบ่อยก็ควรให้แสงแบบสม่ำเสมอ   แต่ถ้าห้องไม่มีการปรับเปลี่ยนก็ควรให้แสงแบบเน้นเป็นที่ เช่น  ที่กลางโต๊ะก็ติดตั้งโคมไฟฟลูออเรสเซนต์ให้ได้ประมาณ 500 ลักซ์  เมื่อให้แสงที่โต๊ะทำงานแล้ว  บริเวณอื่นก็สามารถให้แสงตามความเหมาะสมได้จากโคมฟลูออเรสเซนต์ แทนที่จะให้ความส่องสว่างสูงมากจากหลอดฟลูออเรสเซนต์อย่างเดียวทำให้ไม่ประหยัดพลังงานแสงสว่าง

รูปที่ 5.13 การให้แสงสว่างในห้องสำนักงานที่กั้นเป็นสัดส่วน

รูปที่ 5.13 แสดงการให้แสงสว่างในสำนักงานที่เป็นห้องส่วน ซึ่งมีที่ควรระวังคือ ความส่องสว่างที่โต๊ะและบริเวณข้างเคียงภายในห้องไม่ควรมีความส่องสว่างต่างกันมากกว่า 3 เท่า  เช่น ที่โต๊ะทำงานให้ความส่องสว่าง 500 ลักซ์  บริเวณข้างเคียงควรมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่า 500/3 หรือประมาณไม่น้อยกว่า 150 ลักซ์  ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตาต้องปรับสภาพมากเมื่อต้องเงยหน้าขึ้นจากโต๊ะทำงาน

การให้แสงสว่างบนโต๊ะทำงานที่ไม่ต้องการให้แสงสว่างกระจายไปด้านข้างมาก เพื่อไม่ให้รบกวนแสงตกแต่งก็ควรใช้โคมที่มีกราฟกระจายแสงด้านข้างไม่มากนัก พิจารณารูปที่ 5.14 สำหรับพื้นที่สำนักงานที่เป็นห้องส่วนตัวกรณีที่ใช้โคมที่มีการกระจายแสงมากและโคมที่มีการกระจายแสงไม่มาก รูปที่ 5.14ก) ใช้โคมฟลูออเรสเซนต์ที่มีการกระจายแสงด้านข้างมากเช่นในกราฟโคมในรูปที่ 5.12ก) จะให้แสงกระจายกว้างทำให้การตกแต่งด้วยแสงอย่างอื่นทำได้ลำบาก แต่ถ้าใช้กราฟโคมในรูปที่ 5.12ข) ซึ่งมีการกระจายแสงไม่กว้าง ทำให้งานตกแต่งด้วยโคมอย่างอื่นทำได้ง่ายเพื่อให้เกิดความสวยงาม

                                ก)                                                      ข)

รูปที่ 5.14 ความแตกต่างของการใช้โคมที่แสงกระจายด้านข้างมากเทียบกับด้านข้างน้อย

ก) โคมกระจายแสงด้านข้างมาก   ข) โคมกระจายแสงด้านข้างน้อย

การให้แสงในห้องสำนักงานควรใช้โคมฟลูออเรสเซนต์ที่มีกราฟกระจายแสงด้านข้างไม่มาก

เพื่อให้งานตกแต่งแสงด้วยโคมอย่างอื่นทำได้ไม่ยากนัก

5.2.4 ห้องประชุม  หมายถึง ห้องที่มีการใช้ประชุมซึ่งอาจเป็นของกรรมการบริหาร  นอกจากมีการประชุมแล้วอาจมีการฉายสไลด์ หรือ ฉายวีดีโอ ด้วย  ตัวอย่างการให้แสงในห้องประชุมได้แสดงไว้ในรูปที่ 5.15  ซึ่งการให้แสงสว่างในห้องดังกล่าวอาจประหยัดพลังงานได้ไม่มาก เพราะจำเป็นต้องใช้การหรี่ไฟจากหลอดอินแคนเดสเซนต์ และสิ่งที่ต้องคำนึงในการออกแบบแสงสว่างห้องประชุมดังกล่าวควรมีรายละเอียดดังนี้

-   ควรมีการให้แสงจากกลุ่มไฟอินแคนเดสเซนต์ที่กลางโต๊ะโดยสามารถหรี่ได้ด้วย เพื่อใช้หรี่ไฟเมื่อมีการฉายสไลด์ หรือ วีดีโอ

-    แสงไฟที่บริเวณหน้าห้อง หรือ กระดาน ควรมีกลุ่มไฟหลอดอินแคนเดสเซนต์เฉพาะเพื่อใช้กรณีต้องการเน้นเฉพาะที่หน้าห้องเมื่อมีการแสดง หรือ บรรยาย

กลุ่มโคมไฟอินแคนเดสเซนต์ที่หน้าห้องมีสวิทช์ไฟหรี่แยกต่างหาก

กลุ่มโคมไฟฟลูออเรสเซนต์เพื่อให้ความส่องสว่างสูงซึ่งอาจใช้โคม 18 หรือ 36 วัตต์

รูปที่ 5.15 ตัวอย่างการให้แสงสว่างในห้องประชุม

-   ไฟกลางห้อง หรือ กลางโต๊ะประชุม ควรเป็นโคมจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดคูลไวท์ (เพราะหลอด Cool White เป็นหลอดที่มีแสงเหมาะสำหรับการส่องสว่างที่ 500 ลักซ์ และมีองศาเคลวินไม่มากเกินไป และสามารถกลมกลืนเข้าได้กับหลอดอินแคนเดสเซนต์)  โคมที่ใช้อาจใช้โคมแบบมีแผ่นกรองแสงขาวขุ่น หรือ เกล็ดแก้วเพื่อให้สบายตา  

-  ไฟข้างกำแพงโดยทั่วไปก็ติดตั้งโคมไฟส่องรูปสปอร์ตไลท์ หรือ อาจเป็นโคมไฟสาดกำแพงในกรณีที่ต้องการให้ทั้งกำแพงสว่าง เนื่องจากติดรูปมาก หรือ ต้องการเน้นผืนกำแพงให้สว่างกรณีที่ห้องมีลักษณะยาวและแคบ จึงต้องใช้เทคนิคของแสงเพื่อขยายให้ห้องดูกว้างขึ้น

การออกแบบแสงสว่างในห้องประชุมควรมีหลายรูปแบบ

เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้หลายอย่าง ตั้งแต่การประชุม การฉายวีดีโอ การฉายสไลด์

5.2.5 สวิตช์ปิดเปิดไฟในสำนักงานสวิตช์ปิดเปิดในสำนักงานเพื่อการประหยัดพลังงานควรพิจารณาดังนี้

ถ้าเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้หน้าต่างควรพิจาณาให้มีการปิดเปิดสวิตช์ต่างหากของแนวโคมไฟฟ้าขนานกับหน้าต่าง เพราะถ้ามีแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาช่วยก็ไม่ต้องเปิดโคมแสงสว่างในบริเวณนั้น

การปิดเปิดสวิตช์ไฟควรแยกออกสำหรับพื้นที่ต่างๆด้วยถึงแม้จะเป็นสำนักงานเปิดก็ตาม เพื่อแยกสวิตช์ปิดไฟด้วยเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้

การประหยัดพลังงานแสงสว่างด้วยการจัดสวิตช์ปิดเปิดแยกเพื่อการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นและประหยัดได้มากด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการรณรงค์เรื่องการประหยัดไฟฟ้าด้วย มิฉะนั้นการปิดเปิดสวิตช์ไฟเพื่อการประหยัดพลังงานแสงสว่างก็ไม่เกิด

5.2.6 การให้แสงสว่างในห้องที่มีจอคอมพิวเตอร์

          สิ่งที่ต้องระวังในเรื่องการให้แสงสว่างในห้องหรือบริเวณที่มีจอคอมพิวเตอร์ ก็คือ ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแสงสะท้อนขึ้นในจอคอมพิวเตอร์ซึ่งโดยทั่วไปก็คือ ถ้าติดตั้งหรือให้การส่องสว่างที่ไม่ถูกต้องบางครั้งก็มีแสงสะท้อนให้เห็นรูปโคมในจอคอมพิวเตอร์  ทำให้อ่านข้อความในจอได้ลำบาก  วิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดแสงดังกล่าวสามารถทำได้หลายอย่างดังนี้

-  พื้นผิวไม่ว่าพื้น ผนัง เพดาน ควรมีสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงระหว่าง 20-50 %

-  มุมแสงบาดตาของโคมที่มากกว่า 60 องศาขึ้นไปต้องมีลูมิแนนซ์ไม่มากกว่า 200 แคนเดลาต่อตารางเมตร

-  ในห้องที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ควรให้แสงสว่างทั้งแบบโดยตรงและโดยอ้อม

-  โคมไฟแสงสว่างไม่ควรวางเหนือเครื่องคอมพิวเตอร์

-  ไม่ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ใกล้หน้าต่าง

-  การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรให้ทิศทางการมองเครื่องขนานกับกำแพง

          โคมที่ใช้สำหรับการส่องสว่างในห้องที่มีจอคอมพิวเตอร์หรือจอมอนิเตอร์ควรเป็นโคมที่มีแสงบาดตาน้อย  ถ้าเป็นห้องที่พิถีพิถันในเรื่องนี้อาจจำเป็นต้องใช้แสงแบบส่องขึ้น (Uplight) เช่น ศูนย์ควบคุมการบินที่ต้องใช้จอมอนิเตอร์ หรือห้องควบคุมสำคัญ แต่ถ้าเป็นห้องคอมพิวเตอร์ธรรมดาก็อาจเลือกโคมที่มีแสงบาดตาน้อยและยังคงมีประสิทธิภาพการให้แสงสูง เช่น โคมฟลูออเรสเซนต์แบบตัวขวางพาราโบลิกจัตุรัส ซึ่งให้แสงบาดตาน้อยกว่าโคมฟลูออเรสเซนต์แบบตัวขวางชนิดอื่นๆ

5.3 การส่องสว่างโรงเรียน

          การส่องสว่างภายในโรงเรียนต่างจากการให้แสงสว่างในสำนักงานตรงที่ว่า  การใช้สายตาในโรงเรียนมีทั้งการมองที่โต๊ะเรียนและการมองในแนวระดับเพื่อดูกระดานหรือผู้สอน  ดังนั้นการให้แสงสว่างภายในโรงเรียนจึงต้องระวังเรื่องแสงบาดตามากกว่าการให้แสงสว่างในสำนักงาน    

          โคมไฟที่ใช้ในโรงเรียนโดยทั่วไปเป็นโคมฟลูออเรสเซนต์ตะแกรงคือ มีตะแกรงเพื่อไม่ให้เกิดแสงบาดตาเมื่อต้องใช้สายตาในแนวระดับมากดังแสดงในรูปที่ 5.16 โคมมีตะแกรงหรือเซลล์ประมาณ 11-14 เซลล์ต่อหลอดเพื่อลดแสงบาดตา และใช้แขวนจากเพดานในกรณีที่เพดานสูงโดยมีแสงออกทางด้านบนของโคมด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เพดานสว่างดูไม่อึดอัด โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ควรติดตั้งแนวยาวของโคมตามทิศทางการมอง เพื่อไม่ให้เกิดเงาระหว่างโคมที่โต๊ะเรียน โคมที่ใช้ตัวสะท้อนแสงอาจใช้อะลูมิเนียมที่มีสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงที่ดีเพื่อการประหยัดพลังงาน

โคมไฟฟ้าสำหรับโรงเรียนควรเป็นโคมที่มีแสงบาดตาน้อยตัวสะท้อนแสงของโคม

อาจใช้อะลูมิเนียมที่มี สัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงสูง แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องแสงบาดตา

          โรงเรียนมีพื้นที่การใช้งานหลายอย่างตั้งแต่ ห้องบรรยาย  ห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง  ห้องประชุมใหญ่  ห้องสัมมนา  อาคารเอนกประสงค์  ห้องสมุด เป็นต้น

รูปที่ 5.16 โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ตะแกรง

5.3.1 ห้องบรรยาย  ห้องบรรยายควรมีแสงสว่างให้เพียงพอทั่วทั้งห้องเพื่อการใช้สายตาของผู้ที่ฟังการบรรยาย ความส่องสว่างในห้องบรรยายประมาณ 500 ลักซ์ และให้แสงสว่างที่หน้ากระดานมากพอสมควรเพื่อให้การมองเห็นได้ชัดจากผู้ฟัง  ความส่องสว่างที่หน้ากระดานประมาณ 700 ลักซ์  และแสงสว่างที่กระดานต้องไม่ให้เกิดแสงบาดตากับผู้ฟังการบรรยาย ดังนั้นการติดตั้งโคมที่ด้านหน้ากระดานต้องพิจารณาแสงสะท้อนจากโคมเข้ากระดานและสะท้อนมาหาผู้ฟัง

แสงด้านนอกเข้ามา

ควรจัดสวิตช์ปิดแสงสว่างกลุ่มนี้เมื่อมีแสงจากภายนอกเข้ามาช่วย

ควรจัดสวิทช์ปิดเปิดไฟกลุ่มนี้เพื่อการฉายสไลด์หรือวีดีโอโดยไม่ต้องปิดไฟทั้งห้อง

รูปที่ 5.17   การให้แสงสว่างในห้องบรรยายที่เน้นการส่องสว่างสม่ำเสมอในห้องและที่หน้ากระดาน

 โคมวางในทิศทางการมอง

          นอกจากความส่องสว่างดังกล่าวแล้วการปิดเปิดสวิตช์ไฟค่อนข้างสำคัญสำหรับงานให้แสงสว่างในโรงเรียนเพราะการใช้งานในห้องเรียนมีหลายรูปแบบ และมักใช้งานในเวลากลางวัน คือ มีทั้งการบรรยาย การฉายสไลด์ เป็นต้น  ดังนั้นควรมีสวิตช์แยกปิดเปิดไฟด้านหน้าห้องเรียนโดยเฉพาะเมื่อต้องการฉายสไลด์  และมีสวิตช์ไฟเพื่อปิดโคมที่อยู่ใกล้หน้าต่างเพื่อประหยัดพลังงานเพราะมีแสงจากภายนอกมาช่วยเมื่อตอนกลางวัน  และเปิดสวิตช์เฉพาะบริเวณด้านในที่ไม่อยู่ใกล้หน้าต่างเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า

ห้องบรรยายควรจัดโคมและสวิตช์ดังนี้

- โคมฟลูออเรสเซนต์วางตามทิศทางการมอง

- ความส่องสว่างในห้อง 500 ลักซ์ และที่หน้าเวที 700 ลักซ์

- การจัดสวิตช์ให้ปิดเปิดโคมตามแนวยาวและกลุ่มโคมที่หน้าห้องด้วย

5.3.2 ห้องปฏิบัติการ การให้แสงในห้องปฏิบัติการควรให้แสงสว่างสม่ำเสมอทั้งห้อง ความส่องสว่างในห้องปฏิบัติการประมาณ 500 ลักซ์ สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างมากเพราะชิ้นส่วนมีขนาดเล็กต้องมีการให้แสงเพิ่มมากขึ้น  การให้แสงมากขึ้นกว่า 500 ลักซ์ควรเป็นการให้แสงที่มาจากโคมที่ติดตั้งตามโต๊ะปฏิบัติการ  ในกรณีที่ต้องการความส่องสว่างมาก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนที่ต้องใช้สายตามาก เพื่อการมองเห็นวัตถุขนาดเล็กก็ควรติดตั้งโคมไฟใกล้ๆกับชิ้นงาน เพื่อไม่ให้เกิดความสิ้นเปลืองมากเกินไป  นอกจากนี้การวางโคมก็ใช้หลักการเหมือนในห้องเรียน  คือวางโคมขนานกับหน้าต่างเพื่อสามารถแบ่งการปิดเปิดสวิตช์ได้เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพราะบริเวณที่อยู่ใกล้หน้าต่างอาจไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน  ยกเว้นวันที่ฟ้ามืดครึ้มหรือมีการเรียนการสอนในเวลากลางคืน

5.3.3 ห้องประชุมใหญ่ การให้แสงในห้องประชุมใหญ่ของโรงเรียนมีด้วยการหลายวัตถุประสงค์  นอกจากใช้ในการประชุมแล้วก็ยังอาจใช้ห้องประชุมสำหรับการแสดงที่ต้องมีการให้แสงหน้าเวทีด้วย  ความส่องสว่างโดยทั่วไปในห้องประชุมประมาณ 200 ลักซ์ ส่วนความส่องสว่างที่หน้าเวทีก็เหมือนกับการให้แสงสว่างเพื่อใช้ในการแสดงทั่วไปที่อาจใช้ความส่องสว่างขนาด 1000 - 2000 ลักซ์ แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังเรื่องแสงบาดตาที่อาจเกิดแก่เด็กด้วย  นอกจากนี้ควรมีระบบการหรี่ไฟด้วยเพื่อให้มีระดับการส่องสว่างได้หลายระดับ

          ห้องประชุมใหญ่ดังกล่าวถ้าใช้เพื่อการบรรยายและการเรียนด้วย ความส่องสว่างก็ต้องมากถึง 500 ลักซ์โดยใช้โคมฟลูออเรสเซนต์  ส่วนโคมไฟส่องลงหลอดอินแคนเดสเซนต์ก็ควรมีเพื่อการหรี่ไฟด้วยเมื่อต้องการฉายสไลด์หรือวีดีโอ

5.3.4 ห้องสมุด  การให้แสงห้องสมุดมีที่ต้องการแสงสว่างเพื่อการมอง อ่าน หรือเขียนประมาณ 3 ที่ คือ ที่หิ้งหนังสือ  โต๊ะอ่านหนังสือ และบริเวณตู้ค้นดัชนีหนังสือ  ความส่องสว่างในห้องสมุดประมาณ 300 ลักซ์  และตำแหน่งของดวงโคมต้องให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย เช่น หิ้งวางหนังสือต้องวางดวงโคมให้แสงส่องให้เห็นตัวหนังสือที่ชั้นวางหนังสือทุกชั้น  ดังนั้นการติดตั้งโคมควรให้อยู่ระหว่างชั้นหนังสือ  ส่วนบริเวณโต๊ะอ่านหนังสือก็ต้องติดตั้งโคมให้มีความส่องสว่างมากพอประมาณ 300 ลักซ์

          บางครั้งบริเวณห้องสมุดบางพื้นที่อาจมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์เป็นบริเวณใหญ่เพื่อการค้นข้อมูลหรือการติดต่ออินเตอร์เนตหรือการค้นหาดัชนีหนังสือผ่านคอมพิวเตอร์ ก็ต้องพิถีพิถันในเรื่องโคมที่เลือกใช้ด้วยเพื่อไม่ให้มีแสงสะท้อนตัวโคมไปปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์  โคมที่จะใช้ในกรณีนี้ก็เหมือนโคมที่ติดตั้งในสำนักงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์กันมาก

          กรณีที่มีการพิถีพิถันมากในเรื่องของแสงในห้องสมุดก็ต้องพิจารณาในเรื่องของการกระพริบของแสงเนื่องจากความถี่หรือที่เรียกว่า สโตรโบสโคปิกเอฟเฟค (Stroboscopic Effect) ก็อาจแก้ไขในเรื่องการจ่ายไฟสามเฟสเข้าโคมเดียวที่มีสามหลอดโดยจ่ายหลอดละหนึ่งเฟส  แต่แบบนี้ค่อนข้างยุ่งยาก  ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ลดลงได้ด้วยการใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งให้ผลทางด้านสโตรโบสโคปิกเอฟเฟคน้อยกว่าการใช้บัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดา  เพราะบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ให้ความถี่สูงประมาณ 23-30 Khz เข้าหลอดทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดกับการใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์

5.3.5 อาคารเอนกประสงค์ หมายถึงอาคารที่สามารถใช้งานได้หลายอย่างซึ่งมักมีในเกือบทุกโรงเรียน  การใช้งานของอาคารเอนกประสงค์มีตั้งแต่ การจัดงานเลี้ยง  การเล่นกีฬา  การประชุม  ดังนั้นการให้แสงสว่างในอาคารดังกล่าวจึงต้องสามารถรองรับการใช้งานแบบต่างๆได้ ซึ่งอาจต้องประกอบด้วยระบบไฟฟ้าแสงสว่างตัวอย่างดังต่อไปนี้

          - แสงสว่างทั่วไปทั้งจากไฟฟ้าธรรมดาหรือไฟฟ้าสำรอง

- แสงสว่างหรี่ได้เพื่อการฉายวีดีโอ  สไลด์

- แสงสว่างฉุกเฉิน

- แสงสว่างหน้าเวทีสำหรับการบรรยาย

- แสงสว่างหน้าเวทีสำหรับการจัดงานเลี้ยง

          - แสงสว่างสำหรับการเล่นกีฬา

          อาคารเอนกประสงค์โดยทั่วไปมีเพดานสูง ดังนั้นจึงควรใช้โคมที่ใส่หลอดดีสชาร์จประเภทปรอทความดันสูง หรือเมทัลฮาไลด์ เพื่อเป็นการให้แสงทั่วไป  นอกจากนี้ควรมีโคมหลอดฮาโลเจนเพื่อสามารถหรี่แสงได้ตามต้องการเมื่อต้องการใช้งานบางอย่าง เช่นการฉายวีดีโอ หรือ สไลด์  นอกจากนั้นเมื่อไฟจากการไฟฟ้าดับและมีไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาจ่ายให้  หรือเมื่อไฟจากการไฟฟ้ากลับมา หลอดฮาโลเจนจะสว่างเพื่อให้มองเห็นก่อนเพราะหลอดดีสชาร์จยังไม่สามารถติดได้ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที  นอกจากนี้ควรมีไฟแสงสว่างฉุกเฉินที่จ่ายไฟมาจากแบตเตอรี่เพื่อให้สามารถมองเห็นได้เมื่อไฟฟ้าดับ เพราะอาคารดังกล่าวมีคนเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นไม่ควรให้มีไฟดับสนิทเป็นเวลานานสำหรับอาคารดังกล่าว    

          ไฟฟ้าแสงสว่างที่เวทีควรประกอบด้วยโคมไฟฟ้าเพื่อการส่องสว่างที่เวทีเพื่อการบรรยาย  สัมมนา  และกลุ่มโคมไฟแสงสว่างสำหรับการจัดงานเลี้ยงซึ่งอาจเตรียมในรูปของรางไฟแสงสว่าง (Light Track)  การจัดเตรียมไฟแสงสว่างที่เวทีอาจต้องเตรียมไว้หลายวงจรเพื่อสามารถควบคุมการปิดเปิดไฟบางกลุ่มในระหว่างการแสดงด้วย 

5.4 การส่องสว่างโรงพยาบาล

          การส่องสว่างภายในโรงพยาบาล มีพื้นที่ที่ต้องการให้แสงมากมายหลายแบบ และ แต่ละพื้นที่ก็มีการให้แสงที่แตกต่างกันออกไป    หลอดที่เหมาะที่จะใช้ในงานโรงพยาบาล คือ หลอดที่ 4000 องศาเคลวินเพราะให้สีแดงออกมาด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับการตรวจรักษาทั่วไปยกเว้นโรคดีซ่านซึ่งหลอดที่เหมาะ คือ หลอดที่มีสีน้ำเงิน คือ หลอดเดไลท์ เนื่องจากการเปลี่ยนสีผิวที่เหลืองเห็นได้ชัดในหลอดประเภทนี้  แต่อย่างไรก็ตามหลอดคูลไวท์ก็เหมาะสำหรับการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าหลอดที่เหมาะที่สุดสำหรับงานโรงพยาบาล คือ หลอดคูลไวท์  

หลอดที่เหมาะสำหรับการตรวจรักษาโรคทั่วไปคือ หลอดคูลไวท์

ยกเว้นโรคดีซ่านที่ใช้หลอดเดย์ไลท์เหมาะกว่า

          หลอดที่ใช้ในงานโรงพยาบาลควรใช้หลอดที่เหมือนกันทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดการหลอกตาเนื่องจากแสงที่ไม่เหมือนกันของหลอดในแต่ละพื้นที่เพราะอาจทำให้การตรวจวินิจฉัยโรคผิดได้  ยกเว้นบริเวณที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาหรือไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคก็อาจใช้หลอดชนิดอื่นเพื่อให้เกิดสีสันที่สวยงามได้

หลอดที่ใช้ในโรงพยาบาลควรใช้หลอดเหมือนกันทั้งหมด

เพื่อไม่ให้หลอกตาเนื่องจากแสงที่ไม่เหมือนกันในพื้นที่ข้างเคียงกัน

          ผู้คนที่มาโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย ดังนั้นการให้แสงสว่างพึงระวังในเรื่องของแสงบาดตา โดยเฉพาะในบริเวณที่ผู้ป่วยมีโอกาสต้องนอนเตียงเพื่อการเคลื่อนย้าย โคมที่เหมาะสมสำหรับงานโรงพยาบาล คือ โคมประเภทที่มีลูมิแนนซ์ต่ำ เช่น โคมที่มีแผ่นกรองแสงเกล็ดแก้ว(Prismatic) หรือแผ่นกรองแสงขาวขุ่น(White Diffuser) เป็นต้น  นอกจากนี้คนไข้ที่นอนรถเข็นแล้วต้องถูกเข็นไปในโรงพยาบาลแล้วต้องมองขึ้นไปที่เพดานแล้วถ้าพบกับแสงบาดตา เช่น จากโคมสะท้อนแสงอะลูมิเนียม ทำให้รู้สึกไม่สบายมากขึ้น 

  ขอขอบคุณบทความดีๆจาก : http://www.tatc.ac.th/external_newsblog.php?links=4383  



ร้านโคมไฟจำหน่าย โคมไฟออฟฟิศ โคมไฟราคาถูก โคมไฟผ้า โคมไฟสไตล์โมเดิร์น,โคมไฟไทยทำ

STAFF LAMP AS JATUCHAK PRAZA ( JJ ) ZONE B SOI 3 ROOM 115

Contact : 086 6174564 ( Boyd )

ID line : stafflamp2

Copyright © 2011 stafflamp.com All rights reserved.